อีกหนึ่งแนวทางของการเป็นผู้ประกอบการวันหยุด ผ่านงานเขียน แต่ไม่อยากเป็นนักเขียนที่จะออกหนังสือ ก็คือการเป็นผู้สร้าง Content หรือที่มักจะเรียกกันว่า Content Creator ส่วนตัวผมก็ทำผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น Facebook Page Blockdit ผมขอ Focus อยู่เฉพาะ Content ผ่านงานเขียนก่อนนะครับ จริง ๆ คำว่า Content มีหลายรูปแบบ เช่น เป็น VDO ลง YouTube หรือเป็นเสียงผ่าน Podcast ซึ่งบางอันที่ผมทำ ผมจะนำมาเล่าในหัวข้อถัดไปอีกที
ทั้งนี้ก็ยังคงใช้ PALMS มาใช้วิเคราะห์การเป็น Content Creator ผู้ประกอบการดังต่อไปนี้ครับ
1. เป็นงานที่เรารัก (Passion)
อันนี้ก็เป็นอีกเรื่องที่ส่วนตัวผมชอบจริง ๆ ครับ ถ้าถามว่าถ้าไม่ได้เงินยังทำไหม คำตอบก็คือทำครับ เอาจริง ๆ ตอนนี้เวลาผมเขียนบทความลง Facebook Page แล้วบทความไหนมีคนสนใจเยอะ ผมเอาไปเผยแพร่ใน Line Official Account (ใครอยากติดตามก็ติดตามได้ที่ @nopadolrompho (ตอน add friend ใส่เครื่องหมาย @ ไปข้างหน้าด้วยนะครับ) ตอนเผยแพร่นี่ไม่ใช่ฟรี ๆ นะครับ ผมต้องจ่ายเงินให้กับ Line ด้วย แล้วเผยแพร่นี่ก็ไม่ได้ขายของอะไรนะครับ แค่อยากให้คนอ่านบทความที่ผมเขียนแค่นั้นเลย แสดงให้เห็นว่าผมรักการทำ Content จริง ๆ และตอนนี้ก็ทำได้ทุกวันเลยครับ
2. เป็นงานที่เราเก่ง (Ability)
อันนี้ก็คล้าย ๆ กับการเป็นนักเขียนนะครับ เราอาจจะไปเรียน Course ที่เขาสอนเรื่องการเขียนก็ได้ แต่เรียนอย่างเดียวก็ไม่พอครับ อีกอย่างที่เราต้องทำคือเขียนทุกวัน ถ้าจะให้ผมแนะนำง่ายที่สุดคือเปิด Page ใน Facebook หรือจะใช้ Blockdit ซึ่งเป็น Platform ที่คล้าย ๆ Facebook แต่เน้นเรื่องการเขียนเป็นหลัก หรือจะเป็น Blog ซึ่งคือ Website ของตัวเองก็ได้ และแนะนำให้เขียนอย่างต่อเนื่อง
การเขียนใน Platform เหล่านี้ มีข้อดีคือเขียนแล้ว เราจะได้รับ Feedback อย่างรวดเร็ว จากจำนวน Like จำนวน Share หรือ จำนวน Comments ซึ่งถ้าเยอะ ก็พอจะบอกได้ว่าข้อเขียนนั้นถูกใจคนอ่าน ถ้าน้อย ก็อาจจะแปลว่า เรายังเขียนได้ไม่ดีเท่าไร ซึ่งก็ไม่ต้องเสียใจไป เราเขียนทุกวันเดี๋ยวก็พัฒนาขึ้นเองแหละครับ และเรายังถือว่า Feedback เหล่านี้แหละครับที่จะเป็นเครื่องบอกว่าเราเก่งขึ้นมากน้อยแต่ไหน
3. ใช้เงินลงทุนต่ำ (Low Investment)
การเป็น Content Creator ส่วนใหญ่ก็แทบจะไม่ต้องใช้เงินลงทุนอะไรเลย เราสามารถเปิด Facebook Page หรือ Blockdit หรือ Platform อื่น ๆ ที่เราสนใจ และก็เขียนได้เลย ซึ่งส่วนใหญ่ Platform เหล่านี้ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายอะไร ยกเว้นอย่างเดียวคือเราต้องการ Promote อยากให้คนรู้จัก Page เรามากขึ้น หรืออยากให้เขามาอ่านข้อเขียนเราเยอะขึ้น อันนี้เราก็เลือกได้ว่าจะจ่ายเงินเพื่อ Promote มากน้อยแค่ไหน
ถ้าจะให้ผมแนะนำ ในช่วงแรก ๆ ก็ Promote สักหน่อยให้คนได้เห็น แต่อย่าใช้เงินเยอะมากนัก หลังจากมีคนเห็นแล้ว ถ้าเราเขียนได้ดี และต่อเนื่อง เขาจะ Share ข้อเขียนของเราเองครับ หลังจากนั้น Page เราก็จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ โดยอัตโนมัติครับ เพียงแต่เราต้องรอเวลาสักนิดนะครับ
4. ต้องสร้างรายได้ได้ (Money)
สำหรับคนเป็น Content Creator สามารถสร้างรายได้ได้หลายทาง เริ่มจากการเขียนลง Platform ที่เขามีส่วนบ่างรายได้ให้ เช่น Blockdit อันนี้ถ้าบทความไหนเป็นที่นิยมเราจะได้รับรายได้ด้วย แต่ความยากคือเราต้องเขียนบทความที่ได้รับความนิยมจริง ๆ ถึงได้ หรือถ้าเราเปิด Blog แล้วเขียน Blog ถ้าเราทำได้ดี คนอ่าน Blog เราเยอะ เราอาจจะได้รายได้จากโฆษณาจาก Google ที่เราเอามาลงใน Blog เรา ใครอยากทราบรายละเอียด ลองไปหาหนังสือที่มีคำว่า Google Adsense อ่านเพิ่มเติมได้นะครับ
นอกจากนี้ก็ยังมีการสร้างรายได้โดยรูปแบบของ Affiliate Marketing กล่าวคือ เราเขียนบทความหนึ่งที่เชื่อมโยงกับสินค้าหรือบริการ และใส่ Link ไปในบทความเพื่อคนที่สนใจผลิตภัณฑ์นั้นกดเข้าซื้อได้ และถ้าเกิดการซื้อขายขึ้น เราก็จะได้รับส่วนแบ่งจากรายได้ทัน
อีกส่วนหนึ่งที่เป็นช่องทางรายได้ที่เป็นกอบเป็นกำทีเดียว คือถ้า Facebook Page หรือช่องทางอื่น ๆ ที่เราเขียน ได้รับความนิยมมาก ๆ ก็มักจะมี Brand มาติดต่อให้เราทำ Sponsored Post คือให้เราเขียนบทความที่เชื่อมโยงไปยังผลิตภัณฑ์ของเขา อันนี้อาจจะไม่จำเป็นว่าจะต้องมีการซื้อขายผลิตภัณฑ์เกิดขึ้น เพียงแต่เราแค่ช่วยโฆษณาให้เขาเท่านั้น หลายคนได้รายได้ทางนี้เป็นทางหลักเลย ยิ่งมีคนตามเยอะ ก็จะมีรายได้เข้ามาเยอะขึ้นไปอีก
5. สามารถขยายใหญ่ได้ (Scalability)
งานเขียนสำหรับกลุ่ม Content Creator ที่จะสร้างรายได้ได้นั้นมันสามารถขยายใหญ่ได้ ถ้าเราหารายได้จากรูปแบบของการโฆษณา เช่น เราเขียน Blog แล้วเอาโฆษณา Google มาแปะ หรือจะเป็น Affiliate Marketing ที่ส่ง Link ช่วยให้เกิดการซื้อขายตามที่เล่าให้ฟังแล้ว อันนี้ เราเขียนมาบทความหนึ่ง ถ้ามีคนเข้าไปดูเยอะมาก ๆ เราก็ได้รายได้นี้เข้ามาเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องเอาแรงเราไปแรก
แต่ถ้าเป็นแบบ Sponsored Post คือมีคนมาจ้างให้เราเขียนโฆษณา แบบนี้อาจจะขยายยากหน่อย เพราะเรามักจะต้องเขียนข้อเขียนขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าเราเขียนได้ดี คนติดตามเยอะ สิ่งที่ขยายได้คือ อัตราค่าบริการที่เราจะคิด ถ้า Page เรามีคนติดตามเป็นหลักแสน หลักล้าน เขียนข้อเขียนหนึ่งก็สามารถทำเงินได้มากเช่นเดียวกันครับ
จากการวิเคราะห์โดยให้หลักการ PALMS จะเห็นว่าการเป็น Content Creator ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่ง สำหรับคนที่สนใจอยากเป็นผู้ประกอบการวันหยุดนะครับ
ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify YouTube หรือ Blockdit
1 Comment
คำถาม: หากคุณต้องการเป็นผู้สร้างเนื้อหาหรือ Content Creator โดยเน้นการเขียนเป็นหลัก และไม่ต้องการจะเป็นนักเขียนที่จะออกหนังสือ คุณมีแนวทางหรือวิธีการใดที่คุณใช้ในการสร้างเนื้อหาผ่านงานเขียนที่คุณเลือกทำในช่วงวันหยุดหรือเวลาว่าง?