พักผ่อนให้เพียงพอ จะทำให้เราประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องงานและเรื่องชีวิต
Continue readingกฎ 3 นาที
จริง ๆ กฎข้อนี้ ผมไม่ได้คิดเองหรอกนะครับ ได้ไปเจอมาอีกที แต่เอามาปรับใช้กับตัวเองแล
.
คือคนเรามีแนวโน้มที่จะผัดว
.
ไปอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง (จริง ๆ ต้องบอกว่าหลายเล่มเลยก็ว่า
.
ยกตัวอย่างเช่น เปิด email มาอ่านแล้ว แทนที่จะคิดว่า เดี๋ยวค่อยเข้ามาตอบ ถ้ามันตอบได้เลย ตอบเลยดีกว่า เพราะเราจะได้ไม่ต้องเสียเว
.
คำถามคือแล้ว งาน “เล็ก ๆ ” นี่คือ เล็กแค่ไหน
.
ตรงนี้มีความหลากหลายครับ บางเล่มบอกว่า ไม่เกิน 5 นาที บางเล่มบอกว่าไม่เกิน 2 นาที
.
คราวนี้ ส่วนตัวผม ผมคิดว่า 3 นาทีกำลังดีครับ
.
คือเวลาผมเจองาน ไม่ว่างานใดก็ตาม ที่รู้ว่าต้องทำแน่ ๆ ผมจะถามตัวเองทันที ณ เวลานั้นว่า 3 นาที จบไหม ถ้าจบ ผมทำเลย
.
แต่ถ้ามันเกินกว่านั้น ผมก็อาจจะต้องดูเวลา และพิจารณาเป็นครั้ง ๆ ไป
.
ยกตัวอย่างเช่น อ่าน email นักศึกษานัดมาว่า อาจารย์ว่างวันนี้ไหม อยากเข้ามาปรึกษา อ่านแล้ว ถ้าเราสามารถเช็คตารางได้ตอ
.
หรือจะต้องโทรศัพท์ไปคุยกับ
.
ลองนำไปปรับใช้กันดูนะครับ อย่างบทความนี้ ผมก็เชื่อว่าคงใช้เวลาไม่เก
ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify Youtube หรือ Blockdit
5 เทคนิคที่ทำให้เรา Productive
ผมว่าหัวข้อทำนองนี้ พูดกันได้ไม่รู้จักเบื่อ เพราะไม่ว่าใครก็มักจะอยากที่จะ Productive กันทั้งนั้น
แต่ก่อนที่เราจะ Productive เรามาให้ความหมายกันก่อนดีไหมครับ เพราะถ้าคำเดียวกัน แต่พูดกันคนละเรื่อง วิธีการที่จะนำไปถึงจุดหมายมันก็ย่อมต่างกัน
แล้วก็มาบอกว่า ทำแล้วไม่เห็นจะ work เลย ก็แน่สิครับ เพราะนิยามของ Productive มันต่างกัน
คราวนี้ แล้วใครจะเป็นคนตัดสินล่ะว่านิยามใครผิด ใครถูก สำหรับผม ผมว่าไม่มีนิยามกลางที่ใช้ได้กับทุกคนหรอกครับ ตัวเรานั่นแหละเป็นคนบอก
ถ้าถามผม คำว่า Productive ของผม ไม่ใช่การทำอะไรให้ได้ “มาก ๆ ” ในเวลาน้อย ๆ แต่เป็นการทำอะไรก็ตามที่มี Impact สูง ๆ ครับ
ดังนั้นเพื่อให้ได้สิ่งนี้ เทคนิคที่ผมใช้มีดังนี้ครับ
1. เลือกงานที่จะทำ
ถ้าผมจะต้องเลือกเพียงแค่เทคนิคเดียวที่จะส่งผลมากที่สุดในการเพิ่ม Productivity ของเรา ผมจะเลือกข้อนี้ครับ เพราะถ้าเราไม่หยุดยั้ง ใครให้ทำอะไร Say Yes หมด สุดท้าย จะใช้เทคนิคไหนมันก็ไม่ work หรอกครับ เพราะว่าเรามีเวลาแค่ 24 ชั่วโมงเท่านั้น
ก่อนที่เราจะมาจัดการเวลาของเรา เราควรถามก่อนว่า งานที่ต้องทำที่ทำให้เรามาต้องจัดการเวลาน่ะ มันเป็นงานที่เราควรทำไหม ถ้าคำตอบคือไม่ อย่าใส่งานนั้นเข้ามาใน Schedule เราตั้งแต่แรกเลยครับ
บางคนอาจจะถามว่า แต่หัวหน้าสั่งมา ไม่ทำได้อย่างไร อยากให้ลองแบบนี้ครับ ไปคุยเลยครับว่า เราไม่ได้ถนัดเรื่องนี้ จะดีกว่าถ้าให้คนอื่นทำ แต่แน่นอนเราก็ต้องบอกเขาด้วยนะครับ ว่าเราถนัดอะไร จะบอกว่า ไม่ถนัดเลย ถนัดแต่รับเงินเดือนอย่างเดียว อันนี้ก็คงอยู่ในองค์กรต่อไปไม่ได้
2. จัดลำดับความสำคัญ
จริง ๆ ข้อนี้ แทบจะไม่อยากเขียน เพราะคิดว่าคนส่วนใหญ่รู้กันอยู่แล้ว แต่เชื่อไหมครับ ทั้ง ๆ ที่รู้กันนี่แหละ แต่ดันไม่ค่อยมีคนทำ
สำหรับผม ผมใช้ OKRs (Objective and Key Results) มาเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิตครับ เราต้องทำงานเยอะแยะมากมาย แต่เราอาจจะไม่ค่อยได้ถามตัวเองว่า “อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราจะต้องทำให้เสร็จให้ได้” และคำตอบนี้จะตอบได้ เราก็ต้องมีเป้าหมายระยะยาวของชีวิตก่อน
เจอเป้าหมายระยะยาว การสร้างเป้าหมายระยะสั้นมันก็ง่าย คราวนี้การจัดการเวลาก็ทำตามสิ่งที่สำคัญ แค่นี้เองครับ
3. สร้าง Deadline หรือ Commitment ให้ชัดเจน
เคยสังเกตไหมครับ คำว่า “จะทำ” มักจะลงเอยที่เราไม่ได้ทำ เรา “จะวิ่ง” เรา “จะออกกำลังกาย” แบบนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อย work ครับ
คำแนะนำผมคือ เติม Deadline เข้าไป ใส่ไว้ในตารางเลย แทนที่เราจะคิดว่า เรา “จะวิ่ง” ใส่ไปในตารางเลยครับ ว่า 7-8 น. วิ่ง แบบนี้มันมีโอกาสเกิดขึ้นง่ายกว่า
จะให้ดีกว่านี้คือนัดคนอื่นมาวิ่งด้วยเลยครับ 7 โมงเจอกันที่สวนสาธารณะ แบบนี้คือการสร้าง Commitment ไว้ล่วงหน้า โอกาสพลาดก็จะน้อยไปอีก
4. แบ่งงานให้คนอื่นทำ
หลายคนที่ยุ่ง เป็นเพราะว่าเราไม่ไว้ใจคนอื่น เรากลัวคนอื่นจะทำได้ไม่ดีเท่าไร หรือแม้กระทั่งว่าเราเสียดายเงิน ผมก็เคยเป็นแบบนี้ครับ แต่สุดท้ายถ้าเราไม่เชื่อใจคนอื่นเลย คนที่หนักสุดคือเรา และเราก็ไม่มีทางทำงานที่มี Impact เสร็จได้ง่าย ๆ (หรืออาจจะไม่เสร็จเลย)
แน่นอนครับ ใหม่ ๆ คนที่เราให้เขาทำงานแทนในบางงานนั้น เขาอาจจะไม่เก่ง แต่ถ้าเราไม่เคยให้เขาทำเลย เขาจะเก่งได้อย่างไรใช่ไหมครับ
หรือในอีกกรณีหนึ่ง บางทีมีคนที่เขาเก่งกว่าเรา เราทำเองใช้เวลา 8 ชั่วโมง เขาใช้เวลาแค่ชั่วโมงเดียว อย่างนี้ ให้เขาทำจะดีกว่าเยอะครับ อย่าไปคิดประหยัดเงินมาก ดูดี ๆ นะครับ ว่าเงินที่ประหยัดได้ เทียบกับเวลาที่เราต้องเสียไป ในหลายกรณีเรียกว่า คุ้มมาก ๆ ที่จะจ้างเขาทำนะครับ
5. อย่าหยุดเรียนรู้
หลายคนมักจะบอกว่า “จะเอาเวลาที่ไหนมาเรียนรู้ งานที่ทำก็ยังจะไม่ทันอยู่แล้ว” แต่ผมมองกลับกันว่า ก็ที่ทำงานไม่ทันนี่แหละมันแปลว่า เราอาจจะเรียนรู้ได้ไม่เยอะพอก็ได้
การเรียนรู้สำหรับผมมันคือการลงทุนครับ ถ้าเรายอมเหนื่อยเรียนรู้เพิ่มเติม บางทีงานที่เราเคยใช้เวลาทำ 5 ชั่วโมง เราอาจจะทำเสร็จภายใน 1 ชั่วโมงก็ได้ แบบนี้คุ้มซะยิ่งกว่าคุ้มอีก
เพียงแต่อย่าสักแต่ว่าเรียน เรียนไปเรื่อยเปื่อย ลองดูว่าเราต้องการใช้ทักษะอะไร แล้วเลือกเรียนสิ่งนี้ รับประกันได้ว่ามันคุ้มค่าแน่ ๆ ครับ
คำถามสุดท้ายคือ แล้วถ้าทำแล้วมัน work เราจะเอาเวลาที่เหลือไปทำอะไรดี
คำตอบคงแล้วแต่คน แต่สำหรับผมคือ ผมจะเอาเวลาไปให้กับครอบครัวครับ ผมอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง (จำไม่ได้แล้วว่าเล่มไหน) เขาบอกว่าเขาไม่เคยเห็นคนแก่บ่นเลยว่า ตอนหนุ่ม ๆ สาว ๆ ฉันน่าจะทำงานให้มากกว่านี้ เขาเคยได้ยินแต่คนบ่นว่า น่าจะใช้เวลากับครอบครัว หรือ เพื่อน ๆ ให้มากกว่านี้
งานน่ะ ผมว่าใครก็ทำแทนเราได้ แต่ความเป็น “พ่อ” “แม่” หรือ “ลูก” ไม่มีใครในโลกนี้ทำหน้าที่นี้ดีได้เท่าเราอีกแล้วนะครับ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์นะครับ
อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ www.NopadolStory.com หรือ Twitter Nopadol’s Story หรือฟัง Podcast Nopadol’s Story ได้ที่ https://nopadolstory.podbean.com/
10 วิธีเพิ่ม Productivity ในการทำงาน
ระยะหลังมีคนสอบถามมาว่าผมมีเคล็ดลับอะไรที่สามารถทำงานหลาย ๆ อย่างได้สำเร็จ ต้องขอตอบตรง ๆ เลยครับว่า ไม่เคยมานั่งคิดว่าใช้วิธีไหน เดาว่าหลาย ๆ อย่างก็อาจจะเกิดขึ้นจากการที่ผมชอบอ่านหนังสือ แล้วก็เอาแนวปฏิบัติต่าง ๆ มาใช้ทั้งแบบรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว แต่พอได้คำถามนี้ เลยมานั่งคิด และย่อยออกมาได้เป็น 10 ข้อดังต่อไปนี้ครับ
1. ผัดวันประกันพรุ่ง
ใช่ครับ ไม่ได้เขียนผิด ผัดวันประกันพรุ่งจริง ๆ ครับ แต่เป็นการผัดวันประกันพรุ่งในสิ่งที่ขัดขวางการทำงานของเรา เช่น อยากดูซีรีย์เกาหลี ก็ผัดไปว่า เดี๋ยวพรุ่งนี้จะดู อยากเล่น Facebook นาน ๆ ก็คิดว่า เดี๋ยวอีกวันจะกลับมาเล่น ทำแบบนี้ ได้งานเยอะแน่ ๆ
2. เลิกใช้มือถือหรือ Internet
คือไม่ได้ให้เลิกไปเลยนะครับ แต่ถ้าอยากทำงานได้มาก ๆ อย่าใช้มือถือ เอาไปไว้ไกล ๆ เลย และ disconnect Internet ซะ ช่วยได้มากจริง ๆ ครับ
3. จัดลำดับความสำคัญ
เราอาจจะไม่สามารถทำทุกอย่างได้ทั้งหมด เนื่องจากเวลามีจำกัด ดังนั้นเราจำเป็นต้องเลือกทำสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือสิ่งที่ทำให้เราบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้มากที่สุดครับ
4. ไม่ต้องทำงานให้ Perfect
ผมไม่ได้หมายความว่าทำงานให้คุณภาพต่ำนะครับ แต่ถ้าจะต้อง Perfect 100% เราจะมักจะทำอะไรไม่เสร็จสักอย่าง สัก 90-95% ก็พอครับ ทำให้เสร็จ แล้วค่อยมาปรับทีหลังหากต้องการ หรือไปทำงานอื่น ๆ ต่อไปดีกว่าครับ
5. ทำงานในช่วง Flow
ช่วง Flow คือช่วงเวลาที่ลื่นไหล มันคือช่วงที่เรามีสมาธิที่สุด และจะเป็นช่วงที่เราทำได้ดีที่สุดและปริมาณมากที่สุด หาช่วงนั้นให้เจอ แล้วจัดเต็มเลยครับ
6. เลิกประชุม
ครับ เลิกเลยครับ ผมหมายถึงการประชุมที่ไม่มีผลลัพธ์อะไร เข้าไปก็ไม่ได้อะไรออกมา ก่อนประชุม หลังประชุมทุกอย่างเหมือนเดิม หลีกเลี่ยงได้หลีกเลี่ยงเลยครับ
7. พัฒนาความสามารถตัวเองวันละแค่ 1%
อยากทำงานได้ดีขึ้น เราต้องพัฒนาตัวเราเองครับ ทราบไหมครับ ถ้าเราทำตัวเองได้ดีขึ้นแค่วันละ 1% ทุก ๆ วัน ผ่านไป 1 ปี ตัวเราจะดีขึ้นถึง 37.8 เท่าทีเดียวนะครับ
8. ตั้งเป้าหมายระยะยาว (Quest)
ถ้าเรามีเป้าหมายระยะยาว เรามักจะไม่หลงทาง ตั้งเป้าหมายระยะยาวเป็นเหมือนเข็มทิศของเรา จะทำให้เรารู้ว่าตอนนี้เรากำลังจะไปทางไหน
9. ทำในสิ่งที่รัก ถนัด และ ช่วยเหลือสังคม
เรียกง่าย ๆ คือทำ “งานในฝัน” นั่นแหละครับ ถ้าเราเจองานในลักษณะนี้ รับประกันว่าเราทำได้ดีและทำได้มาก ๆ แน่นอน
10. อยู่กับสิ่งที่รักนานพอ
คือทำสิ่งที่รักอย่างเดียว แต่ทำไม่นาน ก็อาจจะยังไม่เห็นผลสำเร็จ อยากทำอะไรสำเร็จ เราต้องทำในสิ่งที่รักอย่างสม่ำเสมอและนานพอ
นี่แหละครับ 10 ข้อที่ผมใช้อยู่ ไม่ได้บอกว่าผมสำเร็จอะไรมากมายนะครับ แต่ผมเชื่อว่าถ้าผมไม่ทำแบบนี้ ผลงานก็คงออกมาน้อยกว่าที่เป็นอยู่แน่ ๆ
ไม่ได้การันตีว่ามันจะใช้ได้สำหรับทุกคนเหมือนกันหมด แต่อยากให้ลองไปทดลองใช้ดูครับ ถ้าไม่ work ก็เลิกทำแค่นั้น ไม่ได้มีอะไรเสียหายเลย จริงไหมครับ
อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ www.NopadolStory.com หรือเข้าร่วมกลุ่ม Line@ ได้ที่ https://line.me/R/ti/p/%40nopadolrompho หรือฟัง Podcast Nopadol’s Story ได้ที่ https://nopadolstory.podbean.com/
เพิ่ม Productivity ได้ในนาทีเดียว
หลายคนอาจจะเคยพยายามเพิ่ม Productivity ให้กับตัวเอง เพราะอยากจะใช้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด สร้างผลงานให้มากที่สุด หลายคนต้องไปหาหนังสืออ่าน หรือแม้กระทั่งไปเข้าคอร์สที่สอนในเรื่องนี้ เสียเงินไปหลายพัน หรือบางทีก็หลักหลายหมื่นบาทกันเลยทีเดียว
ส่วนตัวผมก็สนใจเรื่องนี้ครับ อ่านหนังสือเรื่องนี้มาก็เยอะ (แต่ยังไม่เคยถึงกับไปเข้าคอร์สเรียน) ถามว่าช่วยไหม ก็ตอบว่าช่วยนะครับ เพียงแต่ว่าเผอิญมันเกิดเหตุการณ์บังเอิญบางอย่าง ทำให้ผมค้นพบวิธีที่สุดแสนจะง่ายที่จะทำให้เราทำงานได้เยอะขึ้นโดยอัตโนมัติ และใช้เวลาไม่นานเลยที่จะทำ
เหตุการณ์นั้นคือ… ผมลืมมือถือไว้ที่บ้านครับ
เมื่อเช้านี้ ขณะที่ผมขับรถออกจากบ้านไปไม่นาน ผมรู้ตัวว่าตัวเองลืมมือถือไว้ที่บ้าน ซึ่งจริง ๆ ก็ขับกลับไปเอาได้สบาย ๆ เพราะเวลาเดินทางก็เหลือเฟือ แถมเพิ่งออกมาได้ไม่กี่นาทีเอง แต่ผมกลับมีความคิดอย่างหนึ่งครับ
คือผมเกิดความรู้สึกว่า เอ ถ้าเราจะดำเนินชีวิตเราสักวัน โดยไม่มีมือถือมันจะเป็นอย่างไรกันนะ ก็เลยตัดสินใจ ขับต่อไปเลย โดยไม่สนใจ
ต้องบอกว่า มันเหมือนสิ่งเสพติดเลยครับ ผมรู้สึกอึดอัดทันที เวลารถติด แล้วไม่มีมือถือมากด Line อ่าน พอไปถึงที่ทำงานขณะที่รอประชุม มือก็เอาแต่ควานหาโทรศัพท์ตามความเคยชิน
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผมกลับพบว่า ชีวิตมันช้าลง ไม่ต้องมานั่งเช็ค Line Facebook เรื่อย ๆ แล้วสิ่งมหัศจรรย์ก็เกิดขึ้นครับ
วันนี้ทั้งวัน ผมทำอะไรหลายอย่างเสร็จ แบบที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน เช่น ผมรวมคะแนนและตัดเกรดเสร็จไป 1 วิชา ผมอ่านงานนักศึกษาเสร็จไป 2 คน และยังทำงานเอกสารที่สำคัญเสร็จไป 1 งานอีกด้วย (นี่ไม่นับกิจกรรมอื่น ๆ ที่ได้ทำอีกเช่น อ่านหนังสือ คุยกับเพื่อนอาจารย์)
ผมมั่นใจว่า ถ้าผมมีมือถือติดตัว ผมอาจจะทำงานเหล่านี้ไม่เสร็จสักอย่างแน่นอน (ซึ่งวันนี้ที่ผมไปที่มหาวิทยาลัยก็เพราะผมมีประชุม 3 นัดเลย ซึ่งปกติวันที่มีประชุมแบบนี้ ผมแทบจะไม่สามารถทำอะไรเสร็จสักอย่าง เพราะระหว่างรอประชุม ผมก็เล่น Line เล่น Facebook ไปเรื่อย ๆ )
นี่ขนาดว่า ผมยังมีคอมพิวเตอร์ที่ต่อ Internet เลยยังสามารถมาเล่น Facebook กับ Line ได้บ้างบางเวลาด้วยนะครับ ลองคิดภาพว่าถ้าผมไม่มีการต่อ Internet เลย งานมันจะเสร็จไปมากแค่ไหน
ผมเลยได้คิดไงครับว่า เอ วิธีการเพิ่ม Productivity มันไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย ลองวางมือถือไว้ในที่ที่เราเข้าไม่ถึง ตัดขาดจาก Internet ถ้าจะใช้คอมพิวเตอร์ ก็อย่าต่อ Internet ใช้เวลาทำทั้งหมดไม่เกิน 1 นาทีครับ
บางทีเราอาจจะคิดว่าแหมเราเล่นแปีบเดียว ไม่เสียเวลาหรอก แต่เชื่อไหมครับ “แป๊บเดียว” ของเรา พอมันรวม ๆ กันมันหลักเป็นชั่วโมงต่อวันเช่นกัน เอาเวลาเหล่านั้นคืนมาได้ง่ายมาก จากการเอามือถือไปไกล ๆ ตัวเราครับ ทำได้ไม่ยากจริง ๆ ขึ้นกับว่าเราจะทำหรือไม่
ลองดูสิครับ ไม่เสียหายอะไร ถ้าลองแล้วมันไม่ใช่ ก็เลิกก็แค่นั้น แต่ผมลองมาแล้วมันใช่ เลยอยากมาแนะนำน่ะครับ เดี๋ยวพรุ่งนี้ทำอีกดีกว่า 555
อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ www.NopadolStory.com หรือเข้าร่วมกลุ่ม Line@ ได้ที่ https://line.me/R/ti/p/%40nopadolrompho
ยิ่งประชุมมาก ยิ่งทำงานน้อย
ผมว่าหลายคนคงเคยอยู่สถานการณ์แบบนี้ คือ ในแต่ละวันมีการประชุมเต็มไปหมด มันเยอะซะจน แทบจะไม่มีเวลาทำงาน สิ่งที่น่าประหลาดใจคือทำไม เราถึงมีการประชุมเยอะแยะขนาดนี้ ผมขอแบ่งลักษณะของที่มาของการประชุม ดังต่อไปนี้ครับ
อย่างแรก คือ ประชุมที่ทำกันปกติ
คือพวกประชุมประจำสัปดาห์ ประจำเดือนอะไร ประมาณนั้น ประชุมในรูปแบบนี้ เราประชุม เพราะมันเคยประชุมกันแบบนี้มาตั้งนานแล้ว พวกการประชุมประจำฝ่ายงานหลาย ๆ ครั้งก็เป็นแบบนี้ ก็เราเคยประชุมกันทุกเช้าวันจันทร์ไง เพราะฉะนั้น พอถึงเช้าวันจันทร์ เราก็เลยต้องมาเจอกัน เชื่อไหมครับ บางทีเรื่องที่ประชุมยังไม่มีเลย ก็ยังต้องมาประชุมกัน
อย่างที่สอง ประชุมเพื่อแก้ปัญหา
อันนี้ ฟังดูดีขึ้นมาหน่อย คือ ก็มันมีปัญหาไง ก็เลยต้องนัดประชุมเพื่อแก้ปัญหา แต่เอาเข้าจริงแล้ว หลาย ๆ ครั้ง การประชุมแบบนี้ มันไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา แต่มันออกไปทาง ซื้อเวลาซะมากกว่า คือ พูดง่าย ๆ คือ อะไรที่เรายังไม่อยากแก้ เราก็ต้องคณะกรรมการมาศึกษาก่อน และก็ประชุมกันไปเรื่อย ๆ คือมันยังคิดไม่ออก ก็ประชุมกันไป เพราะฉะนั้นในหลาย ๆ องค์กร เราจะเห็นคณะกรรมการผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด ใครร้องเรียนเรื่องอะไร ก็ตั้งคณะกรรมการมาศึกษา แบบนี้ วัน ๆ เราก็จะมีแต่งานประชุมล้วน ๆ ไม่ต้องทำงานทำการกันล่ะ
อย่างที่สาม ประชุมเพื่อแจ้งข่าวสาร
อันนี้ก็เป็นรูปแบบการประชุมที่ในความเห็นของผม คือ มันเสียเวลามาก คือมาถึงก็คุยเรื่อง “แจ้งเพื่อทราบ” เป็นชั่วโมง ถ้าจะแค่แจ้งเพื่อทราบเนี่ย ส่ง email มาก็ได้ หรือจะเป็น Line Facebook บันทึก เรามีตั้งหลายช่องทางนะครับ ทำไมต้องมาเสียเวลามาเจอหน้ากัน และแจ้งข่าวสารเหล่านี้ ซึ่งหลาย ๆ ข่าวที่แจ้ง บางทีคนที่เข้าประชุมก็รู้มาก่อนหน้านั้นแล้วด้วยซ้ำไป
อย่างสุดท้าย ประชุมเพื่อหาข้อตกลง
เช่น ประชุมเพื่อเลือกหัวหน้า ประชุมเพื่อเลือกตัวแทน ในการประชุมทั้งหมด ผมว่าอันนี้ ดูเข้าท่าที่สุด เพราะก่อน ที่เลือกหัวหน้า หรือตัวแทน คนที่ถูกเลือก หรือ คนที่จะไปเลือกเขา ก็อาจจะมีข้อคำถามที่อยากถาม หรือ อยากตอบ การประชุมที่เจอหน้ากันมันจะทำให้การสื่อสารทำได้ง่ายกว่า อย่างไรก็ตาม ขออย่างเดียว คือสุดท้ายควรจะได้ข้อตกลงออกมานะครับ ไม่งั้น ก็เข้าอีหรอบเดิม ก็คือ ประชุมกันไม่รู้จักหยุดหย่อน
จริง ๆ ก็ไม่ได้ต่อต้านการประชุมทุกประเภทหรอกนะครับ แต่อยากให้เราใช้เวลาอย่างคุ้มค่ามากที่สุด จริง ๆ คำถามอันหนึ่งที่สามารถนำไปเช็คได้ว่าการประชุมนั้นมันมีคุณค่าหรือเปล่าคือคำถามที่ว่า
“หลังจากประชุมแล้ว เราได้ความรู้ใหม่ ๆ อะไรบ้าง หรือ เราได้ข้อตกลงอะไรที่เป็นประโยชน์บ้าง”
ถ้าตอบคำถามข้อนี้ไม่ได้ ผมว่าเราป่วยการที่จะประชุมครับ เสียเวลาเปล่า ๆ เพราะเวลาทั้งหมดมันจำกัดจริงไหมครับ ยิ่งเราประชุมกันมากเท่าไร ก็แปลว่า เวลาทำงานเราน้อยลงไปเท่านั้น
Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon ซึ่งปัจจุบันคือผู้ค้าปลีกระดับยักษ์ใหญ่ของโลก ได้ตั้งกฎที่เรียกว่า Two Pizza Rule ขึ้นมา กฎนี้บอกว่า เราไม่ควรมีการประชุมใดที่ เวลาเลี้ยงอาหารแล้วใช้ Pizza เกิน 2 ถาด พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่ควรจะมีคนจำนวนมากมาประชุมร่วมกัน เพราะคนยิ่งมาก ประโยชน์ยิ่งน้อย
ก็ไม่รู้ว่า จะทำอย่างไรให้เกิดขึ้นในองค์กรต่าง ๆ นะครับ เอาเป็นว่า ถ้าจะประชุม ขอให้มันจำเป็นจริง ๆ น่าจะดีที่สุดครับ
ปล. ขณะที่เขียนเรื่องนี้อยู่ มีประชุมประมาณ 3 ชั่วโมงต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์ครับ 555
อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ www.NopadolStory.com หรือเข้าร่วมกลุ่ม Line@ ได้ที่ https://line.me/R/ti/p/%40nopadolrompho