หาหนังสือที่ “ไม่ดี” อ่านกันเถอะ

หนังสือที่ไม่ดี บางทีอาจจะเป็นแค่เขาเขียนที่ไม่ตรงกับความเชื่อของเรา แต่บางครั้งการอ่านหนังสือที่ไม่ตรงกับความคิดของเรา อาจจะทำให้มุมมองของเรากว้างขึ้นและเป็นประโยชน์กับเราก็ได้เช่นเดียวกัน

Continue reading

9 ข้อคิดที่ได้จากหนังสือวิธีเอาตัวรอดในวงล้อมคนงี่เง่า

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยคุณโธมัส เอริคสัน อ่านแล้วได้ให้ข้อคิดดี ๆ ดังต่อไปนี้ครับ

1. คำว่า “คนงี่เง่า” จริง ๆ แล้วก็คือคนที่คิดหรือทำแตกต่างจากเรา

2. ถ้าเราแบ่งคนจาก 2 ปัจจัยคือ 1) การเน้นงานหรือเน้นความสัมพันธ์ และ 2) การลงมือทำหรือการเก็บตัว เราจะได้คน 4 ประเภทได้แก่คนสีแดง (เน้นงานและชอบลงมือทำ) สีเหลือง (เน้นความสัมพันธ์และชอบลงมือทำ) สีเขียว (เน้นความสัมพันธ์และเก็บตัว) และสีน้ำเงิน (เน้นงานและเก็บตัว)

3. คนสีแดง จะเป็นคนที่ไม่ชอบความเยิ่นเย้อ พูดตรง ๆ กล้าคิดกล้าทำ แต่ออกจะใจร้อน ไม่ค่อยสนใจความรู้สึกของคนอื่น ตัวอย่างเช่น Steve Jobs

4. คนสีเหลือง เป็นคนที่ชอบพูด ชอบคุย สร้างแรงบันดาลใจ แต่ก็อาจจะสร้างความรำคาญให้กับคนอื่นได้เช่นกัน เพราะหลายครั้งก็มักจะคุยแต่เรื่องของตัวเอง ตัวอย่างเช่น Bill Clinton

5. คนสีเขียว คือคนที่เห็นอกเห็นใจคนอื่นมาก ไม่ชอบเป็นจุดเด่น แต่ไม่ชอบการเป็นผู้นำ จะทำตามที่คนอื่นบอก ตัวอย่างเช่น Oprah Winfrey

6. คนสีน้ำเงิน เป็นคนที่ชอบตัวเลข ชอบการคิดวิเคราะห์ จะต้องมีรายละเอียดก่อนการตัดสินใจในทุกเรื่อง ซึ่งอาจจะทำให้หลายครั้งกว่าจะตัดสินใจได้อาจจะใช้เวลานาน

7. ในคนหนึ่งคนอาจจะมีได้หลายสี ไม่จำเป็นต้องมีสีเดียว แต่มักจะมีสีเด่นอันใดอันหนึ่ง แต่จะไม่พบ 4 สีในตัวคนเดียวในปริมาณที่เท่ากัน

8. การที่เราจะเข้ากับคนอื่นได้ เราควรจะทราบว่าคนนั้นเขามีแนวโน้มจะเป็นคนสีใด และให้เราทำตัวเหมือนกับเขา จะทำให้เขาชอบ เช่น ถ้าเขาเป็นคนสีแดง เราควรพูดสั้น ๆ ตรงประเด็น ดีกว่าจะมาถามสารทุกข์สุกดิบ เป็นต้น

9. ในการทำงานเป็นทีม ควรจะมีคนหลากหลายสีร่วมกัน เช่น ถ้าสีแดงทำงานด้วยกัน งานอาจจะเสร็จเร็วแต่จะขาดความรอบคอบ แต่หากมีสีน้ำเงินอยู่ในทีมด้วย ก็จะทำให้มีคนคอยช่วยดึง ช่วยท้วงตึงให้คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้น

ก็เป็นหนังสือที่อ่านได้ไม่ยากครับ และน่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการคนในองค์กร

ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify YouTube หรือ Blockdit

15 ข้อคิดที่ได้จากหนังสือ Post Corona

ต้องบอกว่าหนังสือเล่มนี้ ตอนตัดสินใจซื้อมาดูจากชื่อคนแต่งเลยครับคือ Professor Scott Galloway ซึ่งเป็นนักเขียนคนโปรด ต้องบอกว่าผมอาจจะแปลกจากคนอื่นหน่อย ที่ส่วนใหญ่จะรู้จัก Professor Scott จากหนังสือ The Four ซึ่งเป็นเล่มที่โด่งดัง แต่ผมกลับรู้จักจากหนังสือเล่มที่ชื่อว่า The Algebra of Happiness ที่อาจารย์เขาเล่าเรื่องราวของตัวเอง และข้อคิดในการดำเนินชีวิต

เลยได้หยิบเล่มนี้มา ก็ต้องบอกไม่ผิดหวังครับ เพราะเล่มนี้เล่าเรื่องราวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ COVID ผ่านไป

เลยขอนำมาสรุปเป็นข้อ ๆ ที่ผมคิดว่าน่าสนใจไว้ดังนี้ครับ

1. COVID-19 จะเป็นตัวเร่งที่ทำให้เกิด Disruption ต่าง ๆ ได้เร็วขึ้นมาก อะไรที่ปกติต้องใช้เวลา 10 ปีถึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง อาจจะเหลือแค่เป็นหลายสัปดาห์เท่านั้นเอง (เช่น ECommerce เป็นต้น)

2. ในทุกวิกฤติมีโอกาสเสมอ เพราะคนเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมไป

3. หลังจากผ่าน COVID-19 ไปแล้ว บริษัทใดที่แข็งแรงจะยิ่งแข็งแรงขึ้นไปอีก เพราะบริษัทที่อ่อนแอกว่าอยู่ไม่รอด

4. ในช่วงวิกฤตินี้ เงินสดคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ผู้อยู่รอดคือกลุ่มที่ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นตัวทุนผันแปรมากกว่าต้นทุนไม่ผันแปร ยกตัวอย่างเช่น Uber จะอยู่รอดได้ง่ายกว่าบริษัทเช่ารถอื่น ๆ ที่มีรถเป็นของตัวเอง

5. ยุคของ Product จะมาแทนที่ยุคของ Brand คนจะไม่ค่อยสนใจเรื่อง Brand มากสักเท่าไร

6. บริษัทที่จะอยู่รอดและแข็งแกร่งจะอยู่ในกลุ่ม The Four ซึ่งได้แก่ Amazon Apple Facebook และ Google และอาจจะรวมถึง Microsoft ด้วย บริษัทเหล่านี้จะขยายตัวไปในหลาย Sector และจะผูกขาดตลาด

7. Amazon ใช้กลยุทธ์การเปลี่ยนค่าใช้จ่ายของตัวเองให้กลายเป็นตัวขับเคลื่อนรายได้ (เช่นการเปลี่ยนค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ Data Center ให้กลายเป็น Service AWS ที่ให้บริการกับคนอื่นจนกลายเป็นธุรกิจหลักของ Amazon)

8. อยากเป็นบริษัทที่มีมูลค่าระดับล้านล้านเหรียญ จะต้องมีปัจจัยขับเคลื่อน 6 ปัจจัยได้แก่ 1) ความดึงดูดต่อสัญชาติญาณของมนุษย์ เช่นการตอบความอยากรู้อยากเห็นของมนุษย์ของ Google 2) ตัวเร่ง เช่นความสามารถในการดึงคนเก่งเข้ามาสู่บริษัท 3) ความสมดุลระหว่างการเติบโตกับกำไร คือต้องโตด้วย กำไรเยอะด้วย 4) การรวมสินค้าและบริการและทำให้มีรายได้อย่างต่อเนื่อง เช่น Apple ทำระบบ Subscription ของ Video Streaming 5) การควบรวมในแนวตั้ง เช่น Apple มีทั้ง App Store และ iPhone 6) มีผลิตภัณฑ์ที่ยิ่งอยู่นานยิ่งดี (Benjamin Button products) เช่น Spotify ยิ่งมีคนมาลงดนตรีเยอะ คนฟังยิ่งเยอะ ยิ่งคนฟังเยอะ ก็ยิ่งทำให้สามารถทำระบบ Personalization ได้ดี 7) ต้องเล่าเรื่องสร้างวิสัยทัศน์ได้ดี และ 8) ต้องเป็นที่ชื่นชอบ ซึ่งจะดึงดูดทั้งคนเก่งและลูกค้า

9. ค่าเล่าเรียนในมหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มากกว่าเงินเฟ้อหลายเท่า ดังนั้นมหาวิทยาลัยต้องระวังเรื่อง Disruption

10. สิ่งที่มหาวิทยาลัยให้เพื่อแลกกับเงินและเวลาของคนเรียนคือ 1) ความน่าเชื่อถือ 2) การศึกษา และ 3) ประสบการณ์

11. หัวใจของการเปลี่ยนแปลงของมหาวิทยาลัยคือเทคโนโลยี ถ้าทำได้ดีจะประสบความสำเร็จมาก ในทางตรงกันข้ามถ้าทำได้ไม่ดีก็จะประสบปัญหา

12. การเรียนการสอน Online จะทำให้การศึกษาขยายตัวไปได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่ได้ถูกจำกัดด้วยสถานที่ทางกายภาพ ซึ่งอาจจะเป็นทั้งโอกาสของมหาวิทยาลัย แต่ก็เป็นภัยคุกคามได้เช่นกัน เพราะพวก Big Tech Companies ก็สามารถเข้ามาได้

13. ต่อไปเราอาจจะเห็น MIT ร่วมมือกับ Google ในการให้การศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ Carnegie Mellon ร่วมมือกับ Amazon ทางด้าน Computer Science หรือ UCLA ร่วมมือกับ Netflix เรื่องเกี่ยวกับ Entertainment หรือ University of Washington กับ Microsoft ร่วมมือกันเพราะอยู่ในเมืองเดียวกัน เป็นต้น

14. ต่อไปความเหลื่อมล้ำจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และจะเกิดระบบพวกพ้องเกิดขึ้น (Cronyism) ต่อไปจะมี Private Disneyland มหาวิทยาลัยดี ๆ จะมีที่สำหรับคนรวยเท่านั้น ฯลฯ

15. บริษัทใหญ่ ๆ จะได้กำไรอย่างมาก แต่คนงานบริษัทนั้นจะได้รับส่วนแบ่งน้อยลงเมื่อเทียบกับการทำงานในบริษัทอื่น ๆ ในอดีต

ก็เป็นอีกเล่มหนึ่งที่อ่านได้เพลินและได้ความรู้มากมายครับ ลองไปหาอ่านดูได้ตามร้านหนังสือภาษาอังกฤษในประเทศไทย หรือ eBook ผ่าน Amazon ก็ได้ครับ  https://amzn.to/39D9xa6

ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify YouTube หรือ Blockdit

15 ข้อคิดที่ได้จากหนังสือ The Hard Thing about Hard Things

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Ben Horowitz ซึ่งเป็นผู้ประกอบการชื่อดังคนหนึ่ง หนังสือเล่มนี้ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นหนังสือที่ดีเล่มหนึ่งที่ผู้บริหารควรอ่าน

สิ่งที่ผมประทับใจและถือเป็นข้อคิดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้มีดังต่อไปนี้

1. ไม่มีคำว่าสมบูรณ์แบบในการทำธุรกิจ ไม่ว่าเราจะวางแผนไว้อย่างดีอย่างไรก็ตาม สุดท้ายมันจะต้องผิดแผน

2. ผู้ประกอบการมักจะเจอเหตุการณ์ 2 อย่างคือ 1) ดีแบบสุด ๆ หรือ 2) แย่แบบสุด ๆ

3. CEO ในแต่ละสถานการณ์จะมีความแตกต่างกัน เราจะมี CEO แบบเวลาปกติ (Peace Time CEO) และ CEO ในเวลาวิกฤติ (War Time CEO)

4. CEO ในเวลาปกติ จะคิดอะไรระยะยาว และคิดแบบมีเหตุมีผล มีการวางแผนสำรอง และมักจะหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง แต่ CEO ในเวลาวิกฤติ จะมองแต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพราะต้องรีบ Take Action ไม่มีเวลามาสร้างวัฒนธรรมองค์กร ไม่สนใจคนอื่น รวมถึงอาจจะทำอะไรหลายอย่างที่ไม่ได้เป็นไปตามกฏระเบียบองค์กร ไม่มีแผนสำรอง และพร้อมจะลุยกับใครก็ตามที่มาขัดขวางแผนปัจจุบันของเขา

5. ไม่มีสูตรสำเร็จในการบริหารบริษัท เราแค่พยายามสร้างแรงจูงใจให้กับทีมเวลาทุกอย่างมันแย่ ลองทำตามความคิดที่เราคิดว่าดีที่สุด และอย่าล้มเลิกง่าย ๆ แค่นั้น

6. เราหลีกเลี่ยงความยากลำบากไปไม่พ้นหรอก ถ้าต้องการเป็นผู้ประกอบการ แต่ตอนที่ยากลำบากที่สุดนี่แหละ ที่จะทำให้เราสร้างความแตกต่างได้

7. บอกความจริงโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกข่าวร้ายต่าง ๆ กล้าสู้กับความกลัว สร้างความเชื่อถือให้กับทุกคน

8. ลองถามคำถามนี้กับตัวเองว่า เราจะทำอะไรต่อถ้าเราเจ๊ง เราอาจจะได้คำตอบซึ่งเป็น Idea ที่เราสามารถทำได้ตอนนี้เลย

9. บางทีคน ๆ เดียวก็ทำให้โครงการล่าช้าไปได้ พยายามลดอุปสรรคเหล่านี้ลง ถ้าเกิดปัญหาความล่าช้า ต้องตัดสินใจให้ได้ภายใน 24 ชั่วโมง

10. ดูแล 3 Ps ให้ดี คือ People Products และ Profits

11. เมื่อเจอปัญหาหนัก ๆ ให้รีบตัดสินใจ อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เช่น ถ้าเห็นโครงการไหนที่ทำแต่ไม่ตอบโจทย์แน่ ๆ ให้เลิกทันที

12. เวลาจ้างคนให้จ้างคนที่มีจุดแข็ง ไม่ใช่คนที่ไม่มีจุดอ่อน และรู้ว่าไม่มีใคร Perfect และเวลาจ้างให้ฟังความเห็นคนอื่น แต่อย่าใช้การ Vote เพราะถ้า Vote เราจะได้คนที่ไม่มีจุดอ่อนอะไรมาก แต่จะไม่ได้คนที่มีจุดแข็งเด่น ๆ

13. ให้จ้างคนที่เน้นความสำเร็จของบริษัทมากกว่าความสำเร็จของตัวเอง

14. อย่าจ่ายเงินให้พนักงานมากเพียงเพราะว่าที่อื่นจ่ายแพงกว่า

15. ให้ Feedback อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้รูปแบบ one-on-one

ลองหาอ่านกันได้นะครับ สำหรับหนังสือเล่มนี้ ใครอยากอ่าน Version ภาษาอังกฤษแบบ eBook ซื้อผ่าน Link นี้ได้ครับ  https://amzn.to/2JF3RDF

ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify YouTube หรือ Blockdit

หนังสือ 15 เล่มที่ชอบที่สุดในปี 2020

ทุกสิ้นปีก็ได้มีโอกาสย้อนกลับมาดูหนังสือที่ได้อ่านในปีที่ผ่านมา และก็ขอเลือกมา 15 เล่มที่อ่านแล้วชอบมากที่สุดนะครับ (คือบางเล่มก็ออกก่อนหน้านี้ แต่เพิ่งได้มาอ่านก็มีครับ) ผมเอามาเฉพาะหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษเท่านั้นนะครับ บางท่านอาจจะคิดว่า 15 เล่มเยอะไปไหม เห็นเขาชอบจัดอันดับหนังสือกัน 5 เล่ม หรืออย่างมากก็ไม่เกิน 10 เล่ม ทำไมของผมเยอะจัง

ต้องบอกแบบนี้ครับ คือหนังสือภาษาอังกฤษผมอ่านในปีนี้ 56 เล่ม มันเลยตัดออกยากจริง ๆ ครับ นี่ยังเลือกเฉพาะภาษาอังกฤษเหตุผลเพราะว่า หลายคนอาจจะไม่ค่อยได้อ่าน ถ้าเป็นไทยเป็น 100 กว่าเล่ม คงเลือกไม่ถูกเลย

เอาล่ะครับ ลองดูกันครับว่าผมชอบเล่มไหนบ้างสำหรับปี 2020 นี้ครับ เริ่มกันเลยครับ

1. 100 Things Millionaires Do: Little Lessons in Creating Wealth

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Nigel Cumberland เป็นหนังสือที่อ่านได้ง่าย ๆ แต่ได้ความรู้ที่น่าสนใจมากครับ เป็นข้อคิด 100 ข้อที่ผู้เขียนได้นำมาสรุปให้อ่านว่าคนที่เป็นคนรวยเขามักจะคิดหรือทำอย่างไร

ผมว่าค่อย ๆ ทยอยอ่านวันละ 1 ตอน 100 วันก็จบพอดี แล้วลองเอามาเปรียบเทียบกับตัวเองดูครับว่าข้อไหนเราทำบ้าง ข้อไหนเรายังไม่ได้ทำ ข้อที่ไม่ได้ทำก็ลองนำมาทำดูครับ

2. The Blue Zones of Happiness: A Blueprint for a Better Life

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ลูกสาวผมซื้อมาให้เป็นของขวัญวันเกิด ก็เป็นเล่มที่อ่านแล้วชอบครับ คนเขียนคือ Dan Buettner ที่มีชื่อเสียงกับงานเขียนที่เกี่ยวกับ Blue Zones ซึ่งคือพื้นที่ที่มีคนอายุยืนยาวอาศัยอยู่

หนังสือเล่มนี้พูดถึงเรื่องความสุขโดยเฉพาะ โดยบอกว่าองค์ประกอบของความสุขมี 3P ได้แก่ Pleasure หรือความสนุก Purpose หรือการมีเป้าหมายชีวิต และ Pride หรือความภาคภูมิใจ

ในหนังสือได้ยกตัวอย่างประเทศที่มีคนมีความสุขอาศัยอยู่ได้แก่คอสตาริกา เดนมาร์ก และสิงค์โปร์ นอกจากนี้ยังพูดถึงแนวนโยบายที่แต่ละประเทศใช้ เพื่อทำให้คนในประเทศมีความสุขเพิ่มขึ้น ก็เป็นอีกเล่มที่น่าสนใจครับ

3. No Rules Rules: Netflix and the Culture of Reinvention

เป็นอีกเล่มที่ได้รับการพูดถึงกันอย่างกว้างขวาง เล่มนี้คนเขียนคือ Reed Hastings ซึ่งเป็น CEO ของ Netflix กับ Erin Meyer ที่เป็นอาจารย์ที่ Insead

หนังสือเล่าถึงวัฒนธรรมองค์กรของ Netflix ที่เน้นการเลือกเอาเฉพาะคนเก่งและดีไว้ในองค์กร นอกจากนั้นก็สนับสนุนให้พนักงานทุกคนกล้าที่จะให้ Feedback ซึ่งกันและกัน จึงทำให้องค์กรไม่จำเป็นต้องมีระบบควบคุมมาก ซึ่งยิ่งทำให้พนักงานสามารถแสดงผลงานกันได้อย่างเต็มที่

ที่ชอบคือมันค่อนข้างขัดแย้งกับสิ่งที่เราเจอในองค์กรส่วนใหญ่โดยทั่วไปเลย จะค่อนข้างจะสุดโต่งทีเดียว แต่อ่านแล้วกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ ได้อีกเยอะเลยครับ

4. Time Smart: How to Reclaim Your Time and Live a Happier Life

ถ้าจะให้เลือกหนังสือเล่มเดียวที่ชอบมากที่สุดที่ผมได้อ่านในปีนี้ก็คงเป็นเล่มนี้แหละครับ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Ashley Whillans ซึ่งเป็นอาจารย์จาก Harvard Business School

ที่ชอบเพราะอ่านแล้วทำให้เราเห็นคุณค่าของเวลาเพิ่มมากขึ้นเลย หนังสือเล่าให้ฟังว่าทำไมคนเราถึงยุ่ง เวลาเราหายไปไหนหมด และแนะนำการนำเอาเวลาคืนมาจากการใช้ 3 แนวทางได้แก่ Find Time คือการหาเวลา Fund Time คือการซื้อเวลา และ Reframe Time คือการมองเวลาในรูปแบบใหม่ ๆ

จุดหนึ่งที่ผมชอบมากคือ Reframe Time นี่แหละครับ คือเวลาว่างที่เราได้กลับมามันสร้างความสุขให้กับเราได้ แต่เรามักจะมองไม่ออกว่าความสุขที่ได้มันมากน้อยแค่ไหน หนังสือเล่มนี้ทำให้เราเห็นชัดขึ้น โดยแปลงความสุขเหล่านั้นเป็นตัวเงิน ที่เรียกว่า Happiness Dollars  ลองอ่านกันดูครับ เหมาะมาก ๆ สำหรับคนที่ยุ่งอยู่ตลอดเวลา

5. Trump: The Art of the Deal

เล่มนี้หลายคนอาจจะแปลกใจว่าติดใน List ได้อย่างไร เพราะเอาจริง ๆ หนังสือเล่มนี้ก็ออกมานานแล้ว และ Trump ก็เป็นประธานาธิบดีที่ Controversial ในหลาย ๆ เรื่อง เล่มนี้เกิดจากการที่ผมชอบคุยกับลูกชายในช่วงตอนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ซึ่งลูกชายตั้งคำถามว่า ทำไมคนอเมริกาจำนวนมากถึงได้ชอบ Trump ซึ่งผมก็บอกเขาว่า แสดงว่าเขาจะต้องมีอะไรดีบางอย่างที่เราไม่รู้ อาจจะเป็นเพราะ Media ที่เราได้รับมันไปในทางที่ต่อต้าน Trump ซะส่วนใหญ่

วันเกิดผม ลูกชายเลยซื้อเล่มนี้ให้เป็นของขวัญแล้วบอกว่าพ่อลองอ่านแล้วมาเล่าให้ฟังหน่อย เล่มนี้เขียนโดย Donald Trump กับ Tony Schwartz เป็นเล่มที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 1987 เป็นเรื่องราวของการสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของ Trump เลยครับ

แต่อ่านแล้วเข้าใจตัวตนของเขาเลยว่าทำไมเขาถึงเป็นประธาธิบดีของอเมริกาที่แตกต่างจากคนอื่น เอาเป็นว่าใครอยากรู้จัก Trump ดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องชอบเขาก็ได้นะครับ ลองอ่านเล่มนี้ดูครับ

6. Self-Made Success: Ivy League Shark Tank Entrepreneur Reveals 48 Secret Strategies To Live Happier, Healthier, And Wealthier

หนังสือเล่มนี้รู้จักมาจากการได้อ่านหนังสือของ Mark Cuban มหาเศรษฐีของประเทศสหรัฐอเมริกา เขียนโดย Shaan Patel ซึ่งเป็นคนที่สอบ SAT ได้คะแนนเต็ม และได้เรียนหมอที่ University of Southern California และไปต่อ MBA ที่ Yale รวมถึงเป็นผู้ประกอบการเปิดโรงเรียนกวดวิชาสอบ SAT ที่ประสบความสำเร็จ และเขาก็ได้เข้าไปในรายการ Shark Tank ที่เป็นรายการที่ผู้ประกอบการมานำเสนอสินค้าและบริการ เพื่อให้ Shark คือนักลงทุนตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่ลงทุน

หนึ่งใน Shark ก็คือ Mark Cuban นี่แหละครับ เขาเป็นคนเดียวที่ตัดสินใจลงทุนในกิจการของ Shaan ในหนังสือเล่มนี้ Shaan ก็ได้นำเอาบทเรียนต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตและธุรกิจมาสรุปให้ฟัง

เอาเป็นว่าใครอยากเป็นผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ ลองอ่านกันได้นะครับ

7. How to Win at the Sport of Business: If I Can Do It, You Can Do It

เล่มนี้เขียนโดย Mark Cuban ซึ่งเป็นมหาเศรษฐีชาวสหรัฐอเมริกาและเป็นเจ้าของทีมบาสเก็ตบอล Dallas Mavericks ผมสนใจแนวคิดของ Mark Cuban มาตั้งแต่ไปอ่านข้อคิดเห็นอันหนึ่งที่เขาบอกว่า Don’t follow your dream, follow your effort ซึ่งแปลว่า เราไม่ต้องไปทำตามความฝันหรอก เราทำในสิ่งที่เราทำได้ดีดีกว่า

หนังสือเล่มนี้ก็เล่าเรื่องของ Mark Cuban ตั้งแต่เด็ก ๆ จนเรียนมหาวิทยาลัย และมาทำธุรกิจจนประสบผลสำเร็จ อ่านแล้วชอบเลยครับ เขามีแนวคิดที่ไม่ค่อยเหมือนใครดี และก็ไม่ได้มาจากครอบครัวที่ร่ำรวยแต่ประการใด

ใครอยากทำธุรกิจของตัวเอง อยากแนะนำให้อ่านเล่มนี้ดูนะครับ

8. The Psychology of Money: Timeless lessons on wealth, greed, and happiness

ผมเคยคิดมาตลอดว่าความรวยก็คล้าย ๆ การลดน้ำหนัก คือไม่ใช่เราไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร เรารู้หมด แต่เราทำไม่ได้สักที

เหตุผลประการหนึ่งมันอยู่ที่เรื่องจิตวิทยานี่แหละครับ หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Morgan Housel ได้เล่าเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาที่เกี่ยวกับเรื่องเงินไว้ได้อย่างน่าสนใจ คือถ้าจะให้สรุปคงเขียนได้หลายหน้าทีเดียว

เอาเป็นว่าอยากประสบความสำเร็จทางการเงิน นอกจากความรู้ทางการเงินที่ต้องมีแล้ว อยากแนะนำให้เรียนรู้เรื่องจิตวิทยาทางการเงินด้วย และเล่มนี้น่าจะตอบโจทย์ท่านได้ครับ

9. Dollars and Sense: How We Misthink Money and How to Spend Smarter

ยอมรับเลยครับว่าเป็นแฟนหนังสือของอาจารย์ Dan Ariely ที่แต่งหนังสือในแนวเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมหลายเล่ม

แต่เล่มนี้จะเน้นในเรื่องการใช้จ่ายเงินอย่างเดียวครับ ในหนังสือชี้ให้เห็นถึงลักษณะของคนเราที่อาจจะไม่ค่อยมีเหตุผลเท่าไรในเรื่องการใช้จ่ายเงิน เช่น ถ้าเสื้อราคาเท่านี้เราไม่ซื้อ แต่ถ้าร้านตั้งราคาเสื้อเพิ่มสูงขึ้น (โดยไม่ต้องมีเหตุผลใด ๆ ) และบอกว่าลดราคาเท่านี้เปอร์เซ็น เราจะสนใจซื้อทันที คือเราซื้อโดยไม่ได้ดูว่าราคานั้นมันเหมาะกับสิ่งที่เราได้ แต่เรากลับซื้อเพราะไปเปรียบเทียบกับราคาที่ถูกตั้งไว้

ในหนังสือมีกรณีศึกษามากมายที่อ่านแล้ว ก็ต้องพยักหน้าในหลาย ๆ ครั้งว่า เออ จริง อันนี้เราเลย ลองอ่านกันดูนะครับ

10. Built to Serve: Find Your Purpose and Become the Leader You Were Born to Be

หนังสือเล่มนี้แต่งโดย Evan Carmichael คนที่เขียนเรื่อง Your One Word เป็นหนังสือที่เล่าให้ฟังถึง 3 เรื่องที่เราควรตอบคำถามตัวเองให้ได้ มาจากคำว่า Who Why และ How

โดย Who ก็คือการหาตัวตนเราให้เจอว่าอะไรคือสิ่งที่เราควรยึดถือเป็นหลักของชีวิต ส่วน Why คือการค้นหาว่าเราจะทำสิ่งนั้นไปเพื่ออะไร โดยเราอาจจะนึกถึงความลำบากที่เราเคยผ่านมาได้ จะทำให้เรามีแรงอยากทำสิ่งนั้นเพื่อช่วยคนอื่น และ How คือการที่เราจะทำอย่างไรเพื่อจะส่งต่อสิ่งนั้นให้กับคนอื่นได้

เป็นหนังสือที่เหมาะกับคนที่อยากเริ่มทำอะไรสักอย่าง ที่สามารถต่อยอดการเป็นอาชีพหรือธุรกิจของเราได้ครับ

11. The Catalyst: How to Change Anyone’s Mind

หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักเขียนคนโปรดของผมอีกคนคืออาจารย์ Jonah Berger เล่มนี้ได้เขียนถึงแนวทางทำให้เราสามารถเปลี่ยนใจคนอื่นได้

ชื่อ Catalyst มีความหมายคือตัวเร่งปฏิกิริยา โดยแนวคิดการเปลี่ยนใจคนอื่นคือเราต้องให้เขาเป็นคนที่อยากเปลี่ยนเอง โดยเราจะต้องลดอุปสรรคในการเปลี่ยนใจของเขาลง

คำถามที่เป็น Theme หลักของหนังสือเล่มนี้คือ อะไรเป็นสิ่งขัดขวางทำให้เขาไม่เปลี่ยนใจตั้งแต่แรก หาสิ่งนั้นให้เจอ และทำให้ลดลง

สำหรับคนที่อยากให้คนอื่นเปลี่ยนใจ อ่านเล่มนี้เลยครับ

12. The Formula: The Universal Laws of Success

เป็นหนังสือที่ตอนแรกคาดไม่ถึงว่าอ่านแล้วจะชอบมาก หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Albert-László Barabási เป็นหนังสือที่บอกถึงสูตรแห่งความสำเร็จ ที่ไม่ได้เขียนขึ้นมาเอง แต่เอามาจากงานวิจัยที่น่าสนใจหลาย ๆ งาน

ที่ชอบที่สุดคือความสำเร็จมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเก่งอย่างเดียว โดยเฉพาะงานที่เราแยกผลลัพธ์ออกยาก เช่น งานศิลปะ บางทีความสำเร็จมันขึ้นอยู่กับ Network ด้วย พออ่านแล้วได้คิดต่อยอดอะไรได้อีกหลายอย่างเลยครับ

ใครอยากสำเร็จ ลองอ่านดูได้ครับ

13. Principles for Success

ใครที่อยากอ่านงานเขียนชื่อ Principles ของ Ray Dalio แต่รู้สึกท้อใจจากความหนาของหนังสือ หรืออ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ ผมอยากแนะนำให้เริ่มจากเล่มนี้ก่อน

เล่มนี้มีภาพประกอบตลอดเรื่องครับอ่านง่าย แต่ได้ประโยชน์มาก ๆ เขาคัดหลักการที่นำไปสู่ความสำเร็จมา อ่านแล้วทำให้เราได้คิดอะไรหลาย ๆ อย่างเลย

14. The Art of the Good Life: 52 Surprising Shortcuts to Happiness, Wealth, and Success

เป็นหนังสืออีกเล่มที่พูดถึงเรื่องการมีชีวิตที่ดี มี 52 บทสั้น ๆ ทยอยอ่านไป จริง ๆ สัปดาห์ละบท ปีหนึ่งก็อ่านจบ

เขียนโดย Rolf Dobelli ครับ อ่านง่ายไม่ยาก หนังสือพูดถึงเรื่องความสุข ความมั่งคั่ง และความสำเร็จ สำหรับผม ผมอ่านแล้วนำมาเป็น Checklist ว่าเราได้ทำแบบนี้ไหม ถ้าไม่ได้ทำ ก็คิดต่อว่าเราควรทำไหม

เอาลองมาปรับใช้กับชีวิตเรากันดูนะครับ

15. Dare: The New Way to End Anxiety and Stop Panic Attacks Fast

เล่มนี้อาจจะเฉพาะเจาะจงหน่อยครับ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวทางการจัดการ Panic Attack

หนังสือเล่มนี้เขียนโดย Barry McDonagh โดยเขาบอกว่าแนวทางการจัดการ Panic Attack คือ DARE ซึ่งเป็นชื่อย่อมาจาก D = Defuse คือการถอดชนวน คืออย่าไปคิดอะไรมาก A = Allow คือยอมรับความกลัวเข้ามาว่าเป็นสิ่งปกติ อย่าขัดขืนต่อต้านความกลัว R = Run toward it คือให้เราวิ่งตามความกลัวนั่น และ E = Engage คือการเอาใจไปจดจ่อกับสิ่งอื่นแทน

ใครที่มีอาการ Panick Attack รู้สึกตื่นกลัวจนเกินเหตุ อยากแนะนำให้ลองอ่านเล่มนี้ดูครับ

นี่คือหนังสือ 15 เล่มที่ผมชอบที่สุดในการอ่านของปี 2020 นี้ครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่านนะครับ

ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify YouTube หรือ Blockdit

17 ข้อคิดที่ได้จากหนังสือวิธีคิดไร้กระบวนท่า

จะบอกว่า หนังสือเล่มนี้ซื้อตั้งแต่เห็นชื่อคนเขียน โดยที่ไม่ต้องบอกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ว่าได้ครับ ใช่ครับ อาจจะเป็นการรีวิวหนังสือที่ Bias หน่อย แต่ต้องบอกว่าผมติดตามผลงานเขียน และ Podcast ของคุณรวิศ หาญอุตสาหะ มาตลอด

ยิ่งหนังสือเล่มนี้ ออกกับสำนักพิมพ์ของคุณเอ๋ นิ้วกลม นักเขียนคนโปรดของผมอีกคน ยิ่งไม่ลังเลใจเลยที่จะซื้อ

เพิ่งได้มา แล้วอ่านจบในระยะเวลาอันรวดเร็วเลยครับ ความประทับใจแรกคือมันเป็นเล่มปกแข็งเล่มแรกที่ผมได้ในบรรดาหนังสือของคุณรวิศ และอีกความประทับใจหนึ่งคือ ผมว่าปกสวยมาก ผมชอบมาก ๆ ครับ อ้อ แล้วเช่นเคย หนังสือมีลายเซ็นผู้เขียนมาด้วย ยิ่งพิเศษเข้าไปใหญ่

เปิดอ่านข้างใน ก็ต้องบอกว่าถึงแม้ว่าเรื่องเกือบทั้งหมด ผมเคยฟังใน Podcast หรือไม่ก็อ่านจาก Page Mission to the Moon ไปแล้ว แต่อ่านอีก ก็ชอบอีกครับ

ผมเลยขอนำสรุปเป็นข้อคิดเป็นข้อ ๆ ตามความชอบของผมแล้วกันนะครับ สรุปว่าผมได้ข้อคิด 17 ข้อดังต่อไปนี้ครับ

1. อยากสำเร็จมากกว่าคนอื่น ก็ต้องทุ่มเทให้มากกว่าคนอื่น

2. มันไม่มีความแน่นอนอยู่ในโลกเราหรอก สิ่งที่เราทำได้คือต้องเรียนรู้และปรับตัว

3. อยากจะแข่งขันได้ในปัจจุบัน เราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

4. ที่บอกกันว่า Fail Fast คือล้มให้เร็วนั้น เอาเข้าจริง หลาย ๆ องค์กร ไม่เร็วจริง คราวนี้ ยิ่งล้มก็จะยิ่งเจ็บ เพราะเรียนรู้ไม่ทัน

5. หลายครั้งสิ่งที่น่ากลัวกว่าผลลัพธ์ คือความไม่ชัดเจนว่าจะเกิดผลลัพธ์อย่างไรนี่แหละ

6. การมีคนที่สามารถส่งเสริมให้คนอื่นมีพฤติกรรมเชิงบวกในองค์กร และมีความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น เป็นสิ่งที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างมาก

7. เวลาคนอื่นพูด ให้ตั้งใจฟังจริง ๆ อย่าเพิ่งพยายามพูดและตัดสินอะไรลงไป

8. อย่าใช้ไม้บรรทัดเราไปตัดสินคนอื่น เพราะบางครั้งไม้บรรทัดเรามันอาจจะผิดก็ได้

9. ถ้าอยากให้ใครมาช่วยสอนเรา สิ่งที่เราต้องทำคือทำตัวเราให้ “น่าสอน” ก่อน

10. รู้จักอยู่เฉย ๆ และเรียนรู้ตัวเราเองบ้าง เราเรียนรู้เรื่องข้างนอกมาเยอะมากพอแล้ว

11. การอ่านแต่บทสรุป (แบบที่กำลังอ่านอยู่นี่เลยครับ) มันดีตรงมันช่วยย่นระยะเวลาเราได้ แต่รับรองว่าอรรถรสไม่มีทางเหมือนกับการอ่านฉบับเต็ม (ดังนั้นลองไปหาหนังสือเล่มนี้อ่านกันเองนะครับ)

12. เราไม่จำเป็นต้องแข่งกับคนอื่นหรอก แข่งกับตัวเองก็พอแล้ว

13. เราอาจจะได้เครื่องมือทางความคิดบางอย่าง ผ่านประสบการณ์บางเรื่อง เก็บเครื่องมือนั้น เพื่อเอาไปใช้ในคราวต่อไป

14. การนอนเป็นสิ่งสำคัญไม่ใช่เรื่องที่เราควรจะมาเสียดายเวลา

15. ไม่มีกิจวัตรประจำวันใดที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน เราต้องสร้างกิจวัตรประจำวันที่ดีขึ้นมาด้วยตัวเอง ไม่ต้องไปเลียนแบบใคร

16. ทำธุรกิจครอบครัว ต้องเข้าใจซึ่งกันและกัน เด็กรุ่นใหม่ควรมองว่าบริษัทเติบใหญ่มาก็ด้วยความคิดของคนรุ่นเก่านี่แหละ

17. จำนวน Like จำนวน Share ใน Social Media มันไม่ได้มีความสำคัญกับเรามากนักหรอก

ก็เป็น 17 ข้อที่ผมได้มาจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ครับ อยากให้ลองไปหาอ่านกันดูนะครับ สนุกและได้ข้อคิดดีมาก ๆ ครับ

ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify Youtube หรือ Blockdit