ก่อนที่เราจะบอกตัวเองว่าเราล้มเหลว เราลองมานิยามกันก่อนครับว่า ความล้มเหลวที่แท้จริงแล้ว คืออะไร
Continue readingมา Share ความล้มเหลวกันบ้างเถอะ
วันก่อนผมได้อ่านงานเขียนของอาจารย์ณัฐวุฒิ เผ่าทวี ศาสตราจารย์ทางด้านเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมและความสุข จาก Warwick Business School และบังเอิญก็อ่านหนังสือเรื่อง Imposter Syndrome จบพอดี
.
มี Theme หนึ่งที่พบจากการอ่าน คือ หลายครั้งเรารู้สึก Upset เพราะเห็นแต่ละคนมีชีวิตที่ดี ๆ กันทั้งนั้น และพาลไปคิดว่าเราไม่ได้ดีหรือเก่งเหมือนคนอื่นเขา
.
และปรากฏการณ์นี้ เกิดมากขึ้น จากการเกิดขึ้นของ Social Media ที่แต่ละคนคัดสรรเอาเฉพาะ เรื่องดี ๆ มาลง
.
จริง ๆ ถามว่าผิดไหม ก็คงไม่ถึงกับผิดครับ เพราะ มนุษย์เราโดยธรรมชาติ เรามักจะเลือกเฉพาะสิ่งดี ๆ มาบอกให้คนอื่นฟัง
.
แต่ Side Effect ทางด้านลบที่เกิดขึ้นก็คือ มันเลยกลายเป็นว่า เอ ทำไมคนอื่นเขามีแต่ความสุขกัน ได้ไปเที่ยว ได้งานดี ๆ ทำอะไรก็สำเร็จ และลงเอยด้วยความรู้สึกแย่กับตัวเอง
.
ผมเลยคิดว่า บางที เราลองเอาเรื่องแย่ ๆ ที่เราล้มเหลวมา Share บ้างก็ได้นะครับ คนอื่นจะได้ไม่เห็นว่า ชีวิตของทุกคน Perfect กันหมด
.
คิดได้แบบนี้ ก็เลยอยากเริ่มต้นกับตัวเองก่อนเลยละกันครับ เอาเท่าที่นึกได้ก่อนนะครับว่า อะไรที่ผมคิดว่าเป็นความล้มเหลวที่ผมเจอมาในชีวิตเหมือนกัน (จะมากจะน้อย ก็แล้วแต่ละคนจะพิจารณาแล้วกันนะครับ บางคนอาจจะบอกว่าอะไรกันแค่นี้เองก็ได้ แต่ก็ยังอยาก Share อยู่ดีครับ)
.
1) เรียนประถมได้เกรด 2 หรืออย่างมากสุดไม่เกิน 3 มาตลอดกับวิชาที่มีชื่อย่อว่า กพอ. (การงานพื้นฐานอาชีพ) ไม่เข้าใจว่าทำไมเราต้องเย็บผ้าให้สวยด้วย
.
2) ม. 1 เคยลืมไปสอบ แบบลืมไปเลยว่านี่คือวันสอบ ซึ่งก็แปลว่าสอบวิชานั้นตก (แต่โชคดีหน่อย เพราะนั่นคือการสอบเทียบ)
.
3) เคยสอบแล้วกาผิดช่องทั้งข้อสอบ จำได้ว่ากระดาษคำตอบมี 5 ตัวเลือก แต่กระดาษคำถามมี 4 ตัวเลือก เวลาจะเลือก ง. ไปฝนในกระดาษคำตอบ (ที่ใช้คอมพิวเตอร์ตรวจ) ในช่องสุดท้ายหมดเลย (ซึ่งมันไม่มีตัวเลือก จ. อยู่แล้ว) เป็นการสอบเข้าโรงเรียนแห่งหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่า ผลคือ สอบไม่ได้
.
4) เรียนมหาวิทยาลัยได้ D ในวิชา Tools and Operations และ Statics and Dynamics ที่น่าเจ็บใจมากคือ วิชา Tools and Operations นี่สอบ Midterm ได้เกือบ Top ด้วย แต่ Final คงเละเทะมาก (หรือไม่ก็อาจารย์รวมคะแนนผิด ยังติดใจจนถึงปัจจุบันนี้)
.
5) เกรดเฉลี่ยของการเรียนปีหนึ่ง เทอมแรกในมหาวิทยาลัย 2.6 เอง ไม่เคยเจอแบบนี้มาก่อนเลยตั้งแต่เรียนมา (บางคนบอกว่า อันนี้ Grade ปกตินะ ก็ข้ามข้อนี้ไปได้ครับ)
.
6) สอบ TOEFL เพื่อไปเรียนต่อ 5 ครั้งกว่าจะผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ สอบ GRE จำคะแนนเป๊ะ ๆ ไม่ได้ แต่จำได้ว่าไม่สูงเลย
.
5) สมัครเรียนปริญญาโท Chemical Engineering ได้ Deferred Acceptance (คือไม่ได้รับปีนี้แต่รับปีหน้าแทน) ของ U ระดับ Top 5 ที่หนึ่ง และได้รับ Acceptance จาก U ระดับ Top 10 อีกที่หนึ่ง แต่ปฏิเสธไปหมด เพราะไม่รู้ว่า U ไหนระดับไหน (มารู้ตอนหลัง ๆ เลยว่า โห U พวกนี้ดังนี่หน่า)
.
6) เคยสมัครงานกับบริษัท Consult ชื่อดังแห่งหนึ่ง แต่ตกสัมภาษณ์รอบ 3 เพราะไปเถียงกับ Manager ของเขา กับคำถามว่า คุณว่าคนฟิลิปปินส์ มีมือถือใช้กี่คน (เดาเอาว่าน่าจะเหตุผลนี้นะครับ จริง ๆ ไม่รู้หรอก รู้แต่ว่า ตอนนั้นหงุดหงิดกับคนสัมภาษณ์มาก)
.
7) น้ำหนักตัวเคยขึ้นถึงเลข 9 ซึ่งถือว่า Overweight ไปมาก ๆ
.
8) เคยทะเลาะกับเพื่อนกับเรื่องที่เล็ก ๆ น้อย ๆ มาก ปล่อยผ่านไปก็ได้ แต่รู้สึกมี Ego สูง เลยต้องไม่ยอม
.
9) ทำงานหนักเกินไป จนจุดหนึ่งเคยมีอาการ Panic Attack คือรู้สึกเหมือนว่าตัวเองจะเป็นลม ซึ่งคุณหมอบอกว่าเกิดจากความเครียดสะสม
.
10) ส่งบทความไปตีพิมพ์ใน International Journal โดน Reject เป็นจำนวนครั้งมากกว่าได้รับ Acceptance (นักวิจัยคงคิดว่านี่คือเรื่องปกติ แต่เรามักจะเห็นคน Share ตอนที่ได้รับการตอบรับแล้ว)
.
ประมาณนี้ก่อนครับ ไม่มีอะไรมากครับ อยากจะบอกว่า Social Media มักจะให้ข้อมูลที่มีความลำเอียงไปทางด้านบวกมากกว่าด้านลบ
.
เพราะฉะนั้น ถ้าเราเริ่มรู้สึกแย่เวลาเล่น Social Media เยอะ ๆ บอกกับตัวเองครับว่า ข้อมูลที่เราได้รับนั้นเป็นข้อมูลเชิงบวกเท่านั้น ไม่มีใครที่มีชีวิตที่ Perfect หรอกครับ
.
เขาแค่ไม่เล่าให้ฟังเท่านั้นเอง
.
ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify Youtube หรือ Blockdit
ความล้มเหลวไม่ใช่สิ่งตรงข้ามกับความสำเร็จ
เคยได้ยินคำว่า “ความสำเร็จ” กับ “ความล้มเหลว” บ่อย ๆ ไหมครับ
หลายคนก็คงตอบว่า ได้ยินบ่อยมาก 5555
คำสองคำนี้ ดูเหมือนกับเป็นคำที่ตรงข้ามกัน เกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้ ถ้าสำเร็จก็ไม่ล้มเหลว หรือ ถ้าล้มเหลวก็ไม่สำเร็จ เหมือนเป็นสีขาวกับดำ อะไรทำนองนั้น
จะคิดเช่นนั้นก็ได้ครับ แต่ถ้าเรามามองดูดี ๆ จริง ๆ ทั้งสองสิ่งนี้ มันมีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาก
เอ จะใกล้ชิดกันอย่างไร มันตรงกันข้ามชัด ๆ
อย่างนี้ครับ จริง ๆ แล้ว ความล้มเหลวนั้นถ้ามองให้ดี มันเป็น “องค์ประกอบ” ของความสำเร็จมากกว่า
ผมมีเรื่องเล่าให้ฟังครับ
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผมพาลูกชาย ซึ่งอายุ 11 ขวบ ไปฝึกขี่จักรยาน และทุกคนก็คงเดาได้ว่า การขี่จักรยานครั้งแรกจะเป็นอย่างไร ใช่ครับ มันต้องล้ม คงหายากมากที่เราจะหยิบจักรยานมาขี่ครั้งแรก แล้วขี่ได้ทันที จริงไหมครับ
ผมก็มองดูเขาไปเรื่อย ๆ พอล้ม ก็ไม่ได้เข้าไปช่วยอะไรหรอกครับ เขาก็หยิบจักรยานขึ้นมาขี่ใหม่ ขี่อีกก็ล้มอีก ได้แผลมาเลย
คราวนี้ ถ้าเราหยุดภาพไว้ตรงนี้ เราเรียกการล้มนี้ว่า “ความล้มเหลว” ไหมครับ
ถ้ามองผลลัพธ์อย่างเดียว คำตอบก็น่าจะเป็นว่า “ใช่” เพราะมันขี่ไม่ได้ไง แต่ถ้ามองลึก ๆ ลงไป ทุกครั้งที่เขาล้ม เขาน่าจะได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง
ผมเห็นเขาล้มมาหลายรอบ ลุกขึ้นปัดมือ ปัดขา และก็บ่นกับตัวเอง แต่เขาก็หยิบจักรยานมาขี่ต่อ
และก็คงเหมือนกับทุกท่านที่ขี่จักรยานเป็น ในที่สุดเขาก็ขี่ได้ หรือพูดอีกแบบก็คือ ในที่สุดเขาก็ทำจน “สำเร็จ”
นี่แหละครับ ที่ผมอยากจะบอกว่า ความล้มเหลว (ที่ขี่แล้วล้มทุกที) มันเป็นองค์ประกอบของ ความสำเร็จ (ที่ขี่จักรยานได้)
ในชีวิตของเราเช่นเดียวกันครับ ถ้าเราทำอะไรไม่สำเร็จ ให้ลองคิดภาพนี้ดูว่า นั่นแหละ เรากำลังเข้าใกล้ความสำเร็จไปเรื่อย ๆ ขออย่างเดียว ทุกครั้งที่ล้มเหลว เราควรจะเรียนรู้อะไรบางอย่าง และการเรียนรู้นั้นเอง จะนำเราไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุดนะครับ
ล้มเหลวได้ แต่อย่าล้มเลิกเป็นพอครับ
อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ www.NopadolStory.com หรือเข้าร่วมกลุ่ม Line@ ได้ที่ https://line.me/R/ti/p/%40nopadolrompho