วันก่อนผมได้ฟังการบรรยายของคุณรวิศ หาญอุตสาหะ เจ้าของ Podcast Mission to the Moon และ CEO บริษัทศรีจันทร์ เรื่องเกี่ยวกับ OKRs ที่ศรีจันทร์นำไปใช้ และเรื่องอื่น ๆ ที่มีประโยชน์อีกมาก ให้กับนักศึกษา MBA ที่ธรรมศาสตร์ได้ฟัง
.
.
เรื่องที่ผมประทับใจมากที่สุดเรื่องหนึ่งคือเทคนิคการทำ Time Boxing ที่คุณรวิศได้เคยเล่าให้ฟังใน Mission to the Moon Podcast มาแล้ว ถึง 3 ตอน (ก่อนปีใหม่ 2019 นี่เองครับ ย้อนไปฟังได้) แต่คราวนี้คุณรวิศเอาตัวเลขของตัวเองมาให้ดูด้วย
.
ผมชอบมากครับ แต่ส่วนตัว ผมลองเอามาปรับใช้อีกมุมหนึ่ง คือไม่ได้แบ่ง Activity ตามที่คุณรวิศแบ่งแบบ 100% แต่ผมเอามาเทียบกับ OKRs ของผม
.
คืออยากรู้ว่า วัน ๆ ผมเอาเวลาไปทำอะไรบ้าง แล้วอันที่มันเกี่ยวกับ OKRs ผมใช้เวลากี่ %
.
.
ผมนับเอาตั้งแต่เวลาตื่นจนเวลานอนเลยนะครับ คือวันละประมาณ 16 ชั่วโมง
.
คราวนี้ ผมเอาสถิติที่ผมเก็บไว้ตลอดเดือนมกราคม 2562 มาคำนวณดูว่า เวลาทั้งหมดที่ผมตื่นคือ 16 x 31 x 60 = 29,760 นาทีนั้น ผมเอาเวลาไปทำอะไรบ้าง
.
ผลเป็นแบบนี้ครับ
1) ทำกิจกรรมที่ตอบ OKRs ผม 2,739 นาที หรือ 9.20% เท่านั้น
2) ทำงานประจำ (คือสอน วิจัย และ ประชุม) 9,000 นาที หรือ 30.24%
3) เดินทาง 6,000 นาที หรือ 20.16%
4) กินข้าว พูดคุยกับคนรู้จัก 1,860 นาที หรือ 6.25%
5) งาน Admin ต่าง ๆ เช่น การตอบ email หรือการตอบคำถามต่าง ๆ 3,720 นาท หรือ 12.50%
6) Free time 6,441 นาที หรือ 21.64%
.
.
แน่นอนครับ ตัวเลขข้างบน หลายอันเป็นการประมาณการคร่าว ๆ ไม่ได้จับเวลาเป๊ะ ๆ แต่มั่นใจว่าไม่ได้ต่างจากนี้มากนัก
.
.
สิ่งที่ผมได้เรียนรู้มีดังนี้ครับ
.
1) ผมใช้เวลาทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับ OKRs ของผมน้อยมากกว่าที่ผมคิดไว้ ทั้ง ๆ ที่หลาย ๆ กิจกรรมใน OKRs ผมทำได้ดีพอสมควรทีเดียว
2) เวลาในการเดินทางผมสูงถึง 20.16% โชคดีที่มี Podcast เป็นเพื่อน จึงทำให้เปลี่ยนเวลาช่วงนี้เป็นเวลาในการเรียนรู้ไปด้วยได้
3) งาน Admin ก็ไม่น้อยทีเดียว ปาเข้าไปถึง 12.50%
4) ผมใช้เวลากินข้าว พูดคุย เกือบจะเท่า ๆ กับเวลาทำกิจกรรมที่เกี่ยวกับ OKRs ของผมทีเดียวเลย กินอะไรกันมากมายขนาดนั้น ถึงว่าน้ำหนักมันถึงลดยากไง
5) Free time ดูเหมือนจะเยอะนะ แต่เราเอาไปทำอะไร ทำไม เราถึงรู้สึกว่ายังยุ่งอยู่ ต้อง track ต่อ
6) ในบรรดางานประจำ ที่เป็นสัดส่วนมากที่สุด มีงานประชุมอยู่เกือบ 1/3 คือเกือบ 10% ลดตรงนี้ลงได้ เอาไปทำ OKRs น่าจะส่งผลเยอะมาก (คือเรียกได้ว่าทำได้อีกเท่าหนึ่งเลยทีเดียว)
.
จริง ๆ ผม track ละเอียดไปถึง OKRs แต่ละข้อเลยนะครับ แต่ขอไม่เล่าละกัน เดี๋ยวจะละเอียดไป
.
.
เอาไปว่า ลองทำ Time Boxing กันดูครับ เราจะได้รู้ว่า “เวลาเรา” หายไปไหนบ้าง
อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ www.NopadolStory.com หรือเข้าร่วมกลุ่ม Line@ ได้ที่ https://line.me/R/ti/p/%40nopadolrompho หรือฟัง Podcast Nopadol’s Story ได้ที่ https://nopadolstory.podbean.com/
No comment yet, add your voice below!