ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเรื่อง Drive ที่เขียนโดย Daniel Pink โดยหนังสือเล่มนี้กล่าวถึงเรื่อง “แรงจูงใจภายใน” ที่มีความสำคัญมากในการพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ
พออ่านจบ ผมนึกถึงเรื่องของ OKRs เลยครับ ส่วนตัวผมมีความเชื่อว่า OKRs นี่แหละครับน่าจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดขึ้นกับองค์กรได้
ในหนังสือเรื่อง Drive กล่าวถึง 3 วิธีในการสร้างแรงจูงใจภายใน ได้แก่
1) Autonomy หรือความเป็นอิสระ
ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของ OKRs คือเปิดโอกาสให้กับพนักงานได้คิด ได้สร้างสรรค์สิ่งที่สำคัญได้ด้วยตัวเอง ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ถึงกับ 100% เพราะการทำ OKRs ในองค์กรนั้น พนักงานยังคงต้องสามารถตอบได้ว่า สิ่งที่เขาทำนั้น ตอบโจทย์องค์กรอย่างไร แต่ก็น่าจะดีกว่าการบังคับหรือสั่งให้เขาทำ 100% แน่ ๆ ครับ
2) Mastery หรือการสร้างความเชี่ยวชาญ
มนุษย์มักจะมีแรงจูงใจสูง ถ้าเขาได้ทำในสิ่งที่เขาถนัด เขาเชี่ยวชาญ OKRs ก็นับเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะเป็นตัววัดว่า สิ่งที่เขาทำนั้น เขาทำได้ดีมากน้อยเพียงใด มิติหนึ่งของ OKRs คือการพยายามตั้งเป้าที่ท้าทาย เพื่อทดสอบ Limit ของตัวเองว่าเราทำได้ดีแค่ไหน การทำในลักษณะนี้ย่อมทำให้คนกล้าที่จะทำอะไรที่แต่ก่อนอาจจะไม่เคยคิดว่าจะทำได้
3) Purpose หรือการสร้างเป้าหมาย
มนุษย์เรานั้น หากทำอะไรโดยที่ไม่มีเป้าหมาย ก็มักจะไม่ค่อยอยากทำ เข้าข่ายที่ว่า “ไม่รู้จะทำไปทำไม” OKRs จะช่วยกลับมาทำให้เราได้คิดว่า “เป้าหมายชีวิตการทำงานของเราคืออะไร” ด้วยแนวคิดนี้แหละครับ ที่จะมีส่วนช่วยทำให้คนอยากทำงานมากขึ้น
สำหรับผม OKRs จะตอบคำถาม 2 คำถามคือ 1) อะไรคือความฝันของเรา และ 2) ความฝันนั้นช่วยองค์กรได้อย่างไร เมื่อเรามีเป้าหมายในการทำงาน (ที่ถูกสร้างมาจากเราเอง) ที่ชัดเจน แรงจูงใจในการทำงานก็น่าจะเพิ่มมากขึ้น
ทั้ง 3 ข้อนี้ เมื่อผมอ่านหนังสือเรื่อง Drive แล้ว ทำให้ผมนึกถึง OKRs ขึ้นมาทันที และสำหรับผมแล้ว นี่คือ OKRs ที่องค์กรควรจะสร้างขึ้นครับ
ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify Youtube หรือ Blockdit
1 Comment
Helpful information. Fortunate me I discovered your website accidentally,
and I am surprised why this coincidence did not came about earlier!
I bookmarked it.