คำแนะนำอย่างหนึ่งที่เรามักจะได้ยินกันคือการให้เรา ทำ to-do list หรือรายการที่เราต้องทำในแต่ละวัน ซึ่งแน่นอนว่าวัตถุประสงค์อย่างแรกคือจะทำให้เราไม่ลืมสิ่งที่เราควรจะทำ เพราะในแต่ละวัน เรามักจะมีอะไรที่ต้องทำเยอะแยะเต็มไปหมด และหลาย ๆ ครั้งเราก็อาจจะลืม หรือไม่ก็บางทีไปทำสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องทำ และมาค้นพบภายหลังว่าสิ่งที่จำเป็นต้องทำกลับไม่ได้ทำ
to-do list จึงเหมือนกับเป็นเข็มทิศให้เราในแต่ละวันว่าเราควรจะทำอะไรให้เสร็จ นอกจากนี้การทำ to-do list มันจะช่วยลดความเครียดเราลงได้ด้วย เพราะเมื่อเราเขียนทุกอย่างที่เราควรจะทำลงไปในกระดาษ หรือสื่ออื่น ๆ เช่น iPad แล้ว มันเหมือนว่าสมองเราไม่ต้องมาเหนื่อยที่จะจำว่าเราต้องทำอะไรอีก เราเอาสมองเราไปโฟกัสกับงานได้เลย
ข้อดีอีกประการของการทำ to-do list คือเวลาเราทำอะไรเสร็จแล้ว เราขีดฆ่าทิ้งข้อนั้น ๆ มันจะทำให้เรารู้สึกดี และมีแรงจูงใจมากขึ้น ผมเคยประจำครับพอทำเสร็จแล้ว ขีดข้อนั้นออก มันรู้สึกดีมากว่า เอาล่ะงานนี้เสร็จแล้ว เอางานอันถัดไปมาได้
เพียงแต่ว่าข้อควรระวังอย่างหนึ่งในการทำ to-do list คือเราไม่ควรใส่งานสะเปะสะปะเข้าไปใน to-do list ทั้งหมด เพราะนอกจากบางทีมันทำให้เราท้อใจแล้วว่า โอ้โห งานอะไรเนี่ยเยอะแยะเต็มไปหมด มันอาจจะทำให้เราทำงานแบบสะเปะสะปะ งานที่ไม่สำคัญก็หยิบมาทำ แทนที่จะไปทำงานสำคัญ
ลองดูตัวอย่างนี้ สมมุติว่าวันนี้งานสำคัญของผมคือ 3 อย่างนี้ ได้แก่ 1) เขียน paper งานวิจัยให้เสร็จ 2) ส่งเกรดนักศึกษา 3) เตรียมเอกสารการบรรยาย ถ้าผมเขียนแค่ 3 อย่างนี้ ผมก็จะโฟกัสกับงานสำคัญทั้ง 3 อย่างนี้ จะทำอะไรก่อนหลังก็คงไม่เป็นปัญหา เพราะมันเป็นงานสำคัญมาก ๆ ระดับเดียวกัน
แต่ถ้าผมทำ to-do list ที่ใส่งานอะไรเข้ามาทั้งหมด มันจะกลายร่างเป็นแบบนี้ 1) เขียน paper งานวิจัยให้เสร็จ 2) ส่งเกรดนักศึกษา 3) เตรียมเอกสารการบรรยาย 4) ตอบ email 5) เขียน Post ลง Page ใน Facebook 6) อ่านต้นฉบับหนังสือ 7) ติดต่อสำนักพิมพ์เรื่องตีพิมพ์หนังสือ 8) เรียน Course Online ที่เรียนค้างไว้
ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify YouTube หรือ Blockdit
No comment yet, add your voice below!