ยิ่ง (คิดว่า) รู้มาก ยิ่ง (อาจจะ) รู้น้อย

เคยเจอคนทำนองนี้ไหมครับ ประเภทที่ว่า “รู้อะไร ไม่สู้ รู้ทุกเรื่อง” แบบถามอะไรตอบได้หมด รู้ไปหมดทุกอย่าง ทั้ง ๆ ที่หลาย ๆ อย่างไม่ได้อยู่ในความเชี่ยวชาญของเขาเลย และหลายครั้ง คำตอบที่บอกก็ผิดอีกต่างหาก แต่เขาตอบอย่างมั่นใจมาก ๆ มากจนกระทั่งบางที เราคิดว่า เขาเอาความมั่นใจมาจากไหนกันเนี่ย

แรก ๆ ผมก็คิดว่า เขาคงอายมั้งที่จะตอบว่าไม่รู้ เลยต้องมั่ว ๆ ไป แต่หลัง ๆ พอเจอบ่อย ๆ เอ บางเรื่องนี่พูดออกมาเองเลย ไม่ได้มีคนถามด้วย แล้วแบบมั่นใจมาก ๆ อีกต่างหาก เอ ทำไมถึงเป็นอย่างนี้นะ

ตรงกันข้าม พอได้ไปคุยกับคนเก่งมาก ๆ กลับพบว่า เขาเหล่านั้น ไม่เคยพูดเลยว่า ผมเก่งเรื่องนั้น เก่งเรื่องนี้ ออกจะมาแนวว่าเขาไม่ค่อยเชี่ยวชาญเท่าไรหรอก บางทีดูเหมือนจะไม่ค่อยมั่นใจในตัวเองด้วยซ้ำ แรก ๆ ก็คิดว่าเขาคงถ่อมตัว แต่เจอหลาย ๆ ครั้ง ก็สังเกตว่า เขารู้สึกแบบนั้นจริง ๆ

อะไรกัน คนไม่เก่งกับมั่นใจคิดว่าตัวเองเก่งมาก ขณะที่คนเก่งมาก กลับคิดว่าตัวเองไม่ค่อยเก่ง

ปรากฏว่ามีคนทำงานวิจัยเรื่องนี้เลยครับ ปรากฏการณ์นี้เขาเรียกว่า Dunning–Kruger effect ซึ่งคิดค้นโดย David Dunning และ Justin Kruger นักจิตวิทยาสังคมทั้งสองท่าน โดยปรากฏการณ์นี้อธิบายได้ง่าย ๆ แบบนี้ครับ คือคนไม่เก่งนั้น เนื่องจากเขาไม่รู้เยอะ เขาก็เลยคิดว่าสิ่งที่เขารู้มันเยอะแล้ว เขาเลยมั่นใจมาก ๆ ในทางกลับกัน คนที่เก่งมาก ๆ เนื่องจากเขารู้เยอะมาก จึงทำให้เขารู้ว่า ยังมีอะไรอีกมากที่เขายังไม่รู้

อ่านแล้วงงไหมครับ 555

เอางี้ ครับ ในโลกนี้ ความรู้มันก็มี 2 อย่างเท่านั้น คือสิ่งที่เรารู้ กับ สิ่งที่เราไม่รู้ จริงไหมครับ

คราวนี้ อันไหนมันมากกว่ากันล่ะครับ คำตอบคือ ก็สิ่งที่เราไม่รู้ไง สิ่งที่เรารู้มันน้อยกว่าอยู่แล้ว เราจะไปรู้มากกว่าไม่รู้ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะโลกเรามันกว้างใหญ่ไพศาล องค์ความรู้ต่าง ๆ มันมีมากมายเต็มไปหมด

คราวนี้คนเก่งกับคนไม่เก่งต่างกันตรงไหน

คนไม่เก่ง คือคนที่รู้ไม่เยอะ คนกลุ่มนี้ มี 2 ประเภทครับ คือ ประเภทแรกคือรู้ไม่เยอะ แล้วรู้ตัวเองว่า ยังมีอะไรอีกมากที่ต้องเรียนรู้ คนเหล่านี้ ก็เป็นคนธรรมดาทั่ว ๆ ไปครับ เขาก็ถ่อมตัวด้วยความไม่รู้ของเขา คนเหล่านี้ มีโอกาสที่จะพัฒนาไปได้อีก

แต่คนไม่เก่งอีกประเภท ซึ่งเป็นประเภทที่กำลังเขียนถึงนี่แหละครับ คนไม่เก่ง แล้วยังไม่รู้อีกว่า ตัวเองไม่เก่ง ยังรู้น้อย แต่ดันเข้าใจว่า ไอ้ที่รู้อยู่เนี่ย คือความรู้ทั้งหมดแล้ว แบบนี้แหละครับ ที่เป็นประเภทที่ไม่เก่ง แต่มั่นใจมาก ๆ แบบนี้ แย่กว่าแบบแรกนะครับ คือนอกจากไม่เก่งแล้ว อาจจะไม่พัฒนาด้วยต่างหาก เพราะคิดว่าตัวเองรู้นี่แหละ

คราวนี้มาถึงคนเก่งบ้าง คนเก่งก็มี 2 ประเภทเหมือนกัน ประเภทแรกคือ คนเก่งที่คิดว่าตัวเองเก่งแล้ว คนเก่งแบบนี้ก็มีครับ แต่ไม่ค่อยมากนัก เพราะปกติแล้วพอคนที่รู้เยอะ ๆ เข้า เขาจะเริ่มเข้าใจว่า ยังมีสิ่งอื่น ๆ อีกมากที่เขายังไม่รู้ แต่ก็อาจจะมีเหมือนกันที่ พอรู้อะไรมาก ๆ เข้า มีคนมาเยินยอ จนกระทั่งคิดเองว่า เรานี่แหละสุดยอดแล้ว เมื่อไรก็ตามที่คิดแบบนี้ คนเก่งเหล่านั้น จะหยุดการพัฒนา ผมมักจะบอกว่า วันไหนที่เราคิดว่าเราเก่งที่สุดแล้ว วันนั้นแหละครับ คือขาลงของเราแล้ว เพราะเราจะไม่รับฟังอะไรใหม่ ๆ แล้ว เพราะเราคิด (ไปเอง) ว่าเราเก่งสุด ๆ แล้ว

คนเก่งประเภทที่ 2 ที่เจออยู่บ่อย ๆ คือเขาเก่งมากจนกระทั่งเขารู้ว่า เขายังไม่รู้อะไรอีกมาก คือพอคนเก่งมาก ๆ ระดับหนึ่ง เขาจะรู้ขอบเขตขององค์ความรู้ในเรื่องนั้น ๆ แล้วยิ่งทำให้เขาพบว่า สิ่งที่เขารู้นั้น มันน้อยมาก เทียบกับสิ่งที่เขายังไม่รู้ คนเก่งกลุ่มนี้ จะยิ่งเก่งขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะเขาจะไม่หยุดเรียนรู้เลย

สรุปง่าย ๆ ว่า การเป็นคนเก่งไม่ใช่สิ่งผิด แต่สิ่งที่ต้องระวัง คือ อย่ารู้สึกว่าเราเก่งมาก ๆ ก็พอครับ เพราะถ้ารู้สึกแบบนั้นตลอด ไม่ว่าเราจะเก่งหรือไม่เก่งก็ตาม เราจะหยุดเรียนรู้ทันที และเมื่อเราหยุดเรียนรู้ สุดท้าย ถ้าเราเก่งอยู่ เราก็ได้แค่นั้นแหละครับ และยิ่งแย่กว่านั้นคือ ถ้าเรายังไม่เก่งอยู่แล้ว เราจะยิ่งไม่เก่งต่อไปเรื่อย ๆ (ถึงแม้ว่าจะคิดว่าตัวเองเก่งก็เหอะ 555) ระวังกันให้ดีนะครับ

อ่านบทความอื่น ๆ ได้ที่ www.NopadolStory.com หรือเข้าร่วมกลุ่ม Line@ ได้ที่ https://line.me/R/ti/p/%40nopadolrompho

Recommended Posts

34 Comments

  1. Not sure which capabilities you at present have and which of them you still need?

  2. Systems are extracted, knowledge is transferred and loaded into a data lake or knowledge warehouse.

  3. Electric Boat has even begun to experiment with projecting the photographs as holograms to get a hands-on feel for whether or not the areas work in the real world.

  4. What’s more, you will get training from the best instructors like Lorraine Justice, Mike Johansson, Melissa Dawson,
    Dan Harel, and Jennifer Englert.

  5. What’s up, its fastidious paragraph about media print,
    we all be aware of media is a fantastic source of facts.

  6. You can also add many videos simultaneously.

  7. be relied upon to be helpful for each and every individual.

  8. NeuroTonix IngredientsNeuroTonix contains a blend of plant extracts along with 3.6 billion colony
    forming units of brain supporting probiotic bacteria.

  9. Other medicines and pills should not be taken.

  10. The formulation of Prostadine has been made using 9 natural, plant-based, and scientifically-proven ingredients.

  11. NeuroTonix is a memory and focus supplement available
    exclusively through NeuroTonix-Product.com.


Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *