1. ไม่มีคำว่าถูกหรือผิดในการใช้จ่ายเงิน เราต้องหาจุดที่ดีที่สุดของเราเอง
2. ในช่วงแรกของการทำงาน พยายามประหยัดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะกับสิ่งที่ไม่จำเป็นลง ยิ่งเราประหยัดได้มากเท่าไร เราก็จะมีชีวิตที่ง่ายขึ้นมากเท่านั้น และยังเป็นการสร้างวินัยทางการเงินให้กับเราด้วย
3. แยกแยะระหว่างสิ่งที่จำเป็นกับสิ่งที่ไม่จำเป็นให้ออก พยายามควบคุมความต้องการของเราไม่ให้มันมากเกินไป เพราะหากควบคุมไม่ได้มันจะกระทบต่อการใช้ชีวิตของเรา
4. การเก็บเงินฉุกเฉินจะทำให้เราช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงได้ จริง ๆ สิ่งนี้ทำได้ไม่ง่ายนัก ถ้าทำได้แสดงว่าเรามีวินัยทางการเงินดีทีเดียว
5. เราไม่จำเป็นต้องเก่งมาก ๆ ก็ได้ จริง ๆ คนที่จ้างเรา เขาแค่ต้องการคนที่ทำงานเสร็จตามที่เขามอบหมายให้เท่านั้น
6. หาเงินให้ได้ 2 ก้อน ก้อนแรกคือเงินเผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉิน และ ก้อนที่สองคือเงินเตรียมรอไว้สำหรับใช้ตอนเกษียณ
7. ถ้าใครคิดว่าการเก็บเงินเผื่อตอนเกษียณเป็นเรื่องที่ยาก ลองนึกว่าหลังเกษียณจะต้องมีเงินพอที่จะใช้ชีวิตรอด อันนั้นน่าจะยากกว่า
8. ถึงแม้ว่าเราจะเตรียมพร้อมไว้ทุกอย่างแล้ว ก็ไม่ได้แปลว่าเราจะประสบความสำเร็จเสมอ เพราะโลกเราไม่มีอะไรแน่นอน
9. ทำประกันในสิ่งที่เราต้องการลดความเสี่ยง ซึ่งแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน
10. “งานที่ดี” อาจจะทำให้เราเลือกทำแต่งาน โดยละเลยเรื่องสุขภาพ ความสัมพันธ์หรือเรื่องอื่น ๆ ไป
11. ถามตัวเองให้ดีว่า เราจำเป็นต้องทำงานที่มีความกดดันสูงไหม คุ้มไหมที่จะทำ
12. ถามตัวเองก่อนจะลาออกว่า “เราสะสมทักษะและประสบการณ์ไว้เพียงพอหรือยัง” และ “การตัดสินใจลาออกนี้มาจากตัวเราคิดเอง หรือมาจากคนอื่น”
13. ถ้าอยากเสียภาษีให้น้อย ไม่ใช่หนีภาษี แต่ต้องวางแผนภาษีให้เป็น
14. อยากเก็บเงินเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเกษียณ ให้เริ่มจากการเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นายจ้างมีให้ (ในกรณีที่เราทำงานประจำ)
15. “งานที่ใช่” ไม่จำเป็นต้องเป็นงานที่ดีมาก ๆ หรือต้องมีเหตุผลที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ บางทีงานที่ใช่ อาจจะเป็นงานที่ใกล้บ้าน มีเพื่อนร่วมงานดี อะไรแบบนี้ก็ได้
16. ชีวิตเราไม่ได้มีแต่งาน เรายังมีอะไรหลายอย่างที่สำคัญเช่นกัน
ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify YouTube หรือ Blockdit
No comment yet, add your voice below!