1. ความทรหดประกอบด้วยความหลงใหลกับความอุตสาหะ และความทรหดคือปัจจัยที่แบ่งแยกระหว่างคนที่สำเร็จและคนที่ล้มเหลวได้ดี
2. พรสวรรค์ x ความพยายาม = ทักษะ และ ทักษะ x ความพยายาม = ความสำเร็จ จะเห็นความพยายามส่งผลต่อความสำเร็จเป็น 2 เท่าเลย
3. เราควรมีเป้าหมายใหญ่ในชีวิตเป็นเป้าหมายขั้นสูงสุดก่อน แล้วค่อยกระจายมาเป็นเป้าหมายระดับย่อยที่สอดคล้องกับเป้าหมายระดับสูงสุด พยายามลดเป้าหมายระดับรองลงมาที่ไม่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายระดับสูงสุดลง
4. คนที่ทรหด คือคนที่เวลาทำอะไรที่ไม่บรรลุเป้าหมายระดับย่อย ก็ไม่ท้อถอยและหาหนทางทำอย่างอื่นที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายระดับสูงสุดได้ต่อไป
5. ความทรหดเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยการเพิ่มความสนใจ การฝึกฝน จุดมุ่งหมาย และความหวัง
6. ถ้าเราสนใจในสิ่งที่เราทำมาก ๆ เราจะมีความทรหดเอง ถึงแม้ว่าจะมีบางอย่างที่เราไม่ชอบ แต่เราก็จะอดทนทำจนได้
7. เมื่อเราเจอสิ่งที่เราสนใจแล้ว ให้เราฝึกฝนแบบจดจ่อ ซึ่งหมายถึงการฝึกฝนที่มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาทักษะในเรื่องนั้น ๆ ให้ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ
8. หาจุดมุ่งหมายของงานนั้นให้เจอว่า เราทำงานนั้นไปเพื่ออะไร ยิ่งจุดมุ่งหมายของเรายิ่งใหญ่ เช่นการทำเพื่อคนที่เรารักหรือคนอื่น ๆ เราจะยิ่งมีความทรหดเพิ่มมากขึ้น
9. เวลาเราทำอะไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะดูแล้วไม่มีทางออก ให้เรามีความหวังว่ามันจะดีขึ้นได้ ยิ่งเรามีความหวังแบบนี้ เราจะมีความทรหดมากขึ้นเพราะเราจะฝันฝ่าอุปสรรคไปจนได้
10. เราสามารถเลี้ยงลูกให้ทรหดได้ แต่ไม่ใช่เป็นพ่อแม่แบบเผด็จการ หรือ ไม่ใช่ปล่อยตามใจไปทั้งหมด เราให้ลูกเราเลือกสิ่งที่เขาอยากทำเอง แต่ถ้าเขาเลือกแล้วห้ามเลิกกลางคันเพียงเพราะว่าเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เขาท้อทอย ต้องให้ทำจนจบคอร์สนั้น ๆ
11. การให้ลูกลองทำอะไรที่เขาชอบ ที่ไม่ได้อยู่ในการเรียนในโรงเรียน และไปทำกับคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งในการสร้างความทรหดให้ลูก
12. เราสามารถสร้างวัฒนธรรมที่เน้นความทรหดให้เกิดขึ้นในองค์กรได้
13. ยิ่งเรามีความทรหดมากเท่าไร ยิ่งดูเหมือนว่าเราจะมีความพึงพอใจในชีวิตมากเท่านั้น
ติดตามผลงานอื่น ๆ ได้ทาง Page Nopadol’s Story หรือ Nopadol’s Story Podcast ใน Podbean Soundcloud Apple Podcast Spotify YouTube หรือ Blockdit
No comment yet, add your voice below!